
สิว (Acne) คืออะไร? รู้จักชนิด สาเหตุ และวิธีรักษาสิวให้ได้ผล
สิว (Acne) คือ การอุดตันของระบบต่อมไขมันในรูขุมขน ซึ่งตามปกติแล้วไขมันที่สร้างจากต่อมไขมันจะออกมาตามรูขุมขน หากมีการอุดตันของทางเดินก็จะทำให้เกิดสิวอุดตันขึ้น ซึ่งจะพบเป็นลักษณะตุ่มเม็ดเล็ก ๆ เป็นไตสีขาว ๆ อยู่ข้างใน หากมีตัวกระตุ้นเพิ่มเติม เช่น แบคทีเรีย ก็อาจจะทำให้เกิดการอักเสบได้ และหากสิวอักเสบมากขึ้นแล้วก็จะกลายเป็นตุ่มหนอง เป็นสิวหัวช้าง และเป็นซีสต์ได้
ชนิดของสิว สามารถแบ่งได้ 2 ชนิดตามลักษณะที่พบ ได้แก่
1. สิวที่ไม่มีการอักเสบ
- สิวอุดตัน (Comedones) คือ สิวที่เกิดจากการสะสมอุดตันของไขมันส่วนเกิน เซลล์ผิวเสีย หรือสิ่งสกปรกตกค้างในรูขุมขนจนทำให้เกิดสิวอุดตันทั้งแบบสิวหัวเปิด สิวหัวปิด หรือสิวอุดตันใต้ชั้นผิวหนัง ซึ่งสิวอุดตันแบ่งเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1) สิวหัวขาว (Whiteheads) คือ สิวอุดตันชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นตุ่มเล็กสีขาวหัวปิด มีสาเหตุเกิดจากระดับฮอร์โมน การอุดตันของน้ำมันหรือเซลล์ผิวเสีย หรือกรรมพันธุ์ ยาคุมกำเนิด เครื่องสำอาง หรือฝุ่นละออง มลภาวะในอากาศ ทำให้เกิดการอุดตันของน้ำมัน และเซลล์ผิวเสียในรูขุมขนที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีขาวใต้ผิวหนังที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อและสิวอักเสบ
2) สิวหัวดำ (Blackheads) เกิดจากไขมันส่วนเกิน เส้นขน หรือเซลล์ผิวเสียที่อุดตันในรูขุมขน และทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจนทำให้เป็นสิวหัวดำมีลักษณะเป็นสิวหัวเปิด สิวหัวดำเป็นสิวชนิดที่พบได้บ่อย
- สิวเสี้ยน (Pimples) คือ สิวที่พบได้ทั่วไปบนใบหน้า มีลักษณะเป็นสิวเล็ก ๆ คล้ายหนามที่เกิดจากความผิดปกติของรูขุมขนที่มีกระจุกขนเส้นเล็ก ๆ หลายเส้นขึ้นแทรกอยู่บนหัวสิวภายในรูขุมขนเดียวกัน เมื่อขนอ่อนที่อุดตันร่วมกับไขมันและเซลล์ผิวเสียส่งผลให้เกิดสิวเสี้ยน
- สิวผด (Acne Aestivalis) เป็นสิวหัวเปิดที่เกิดจากการถูกกระตุ้นด้วยรังสี UVA ความร้อนจากแสงแดดหรืออากาศร้อน ทำให้เกิดเป็นสิวผดที่มีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ คล้ายสิวอุดตันหรือตุ่มแดงคล้ายสิวอักเสบ
2. สิวอักเสบ
- สิวอักเสบ (Papules) คือ สิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดงเข้มถึงสีม่วง หรือมีสีเข้มกว่าสีผิวตามธรรมชาติ เป็นสิวที่กดแล้วเจ็บ โดยมักเกิดจากสิวหัวขาวที่ถูกกระตุ้นด้วยแบคทีเรียจนทำให้เกิดการอักเสบรุนแรง
- สิวหัวหนอง หรือสิวหัวเหลือง (Pustules) คือ สิวอักเสบชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นตุ่มบวมแดงขนาดใหญ่ที่ฐาน ด้านบนเป็นหนองสีเหลือง บวมนูน เป็นหนองที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ตายจากการต่อสู้กับเชื้อแบคที่เรียที่ทำให้เกิดการอักเสบและเป็นสิว ทั้งสิวหัวหนองขนาดเล็ก และสิวหัวหนองขนาดใหญ่
- สิวอักเสบขนาดใหญ่ หรือสิวไต (Nodules) คือ สิวอักเสบที่อยู่ชั้นผิวหนังด้านล่างคล้ายสิวหัวช้างแต่เล็กกว่า มีลักษณะเป็นก้อนนูนแดง เมื่อจับจะเป็นก้อนไตแข็งใต้ผิวหนัง ไม่มีหัว มักพบที่บริเวณใบหน้า หลัง หน้าอก สิวไตเป็นสิวที่ต้องใช้เวลาในการรักษา และอาจทำให้เกิดรอยแผลเป็น
- สิวเชื้อรา หรือสิวยีสต์ (Malassezia folliculitis) เกิดจากการอักเสบของต่อมรูขุมขนที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อราประเภทยีสต์ (Malassezia species) เป็นสิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มแดงและมีอาการคัน โดยมีปัจจัยจากสภาพอากาศที่ร้อน อับชื้น หรือเมื่อมีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ
- สิวหัวช้าง (Acne conglobata) เป็นสิวอักเสบชนิดรุนแรงที่มีหัวสิวขนาดใหญ่ เป็นตุ่ม หรือก้อนไตสีแดงที่เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมันใต้ชั้นผิวหนังบนใบหน้าที่ผลิตไขมันออกมามากกว่าปกติ จนไปอุดตันรูขุมขนและเกิดเป็นสิวอักเสบ บวม นูน ที่มีอาการเจ็บรุนแรงแม้ไม่ได้กด อาการเจ็บอาจร้าวไปที่ผิวหนังรอบ ๆ โดยไม่ทุเลาลงในเร็ววัน ควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษา
- สิวซีสต์ (Acne cysts) เป็นสิวที่มีลักษณะเป็นก้อนนูนแดงขนาดใหญ่ ภายในเป็นโพรงมีหนองปนเลือดที่เกิดจากการอักเสบรุนแรงใต้ชั้นผิวหนัง สิวซีสต์เป็นสิวที่มีระดับความเจ็บปวดมากที่สุด เป็นสิวที่มีหัวสิวหลายหัวกระจุกตัวรวมกันเป็นไตแข็ง และสามารถขยายขนาดใหญ่ขึ้นได้ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เป็นสิวเรื้อรัง เป็นแผลเป็น หรือเป็นหลุมสิวขนาดใหญ่ ควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษา
การเกิดสิว
สิวมักเกิดบริเวณใบหน้า หน้าอก หลังช่วงบน ไหล่ ซึ่งเป็นบริเวณที่ต่อมไขมันทํางานมาก ต่อมไขมันเป็นต่อมที่อยู่ใต้ผิวหนัง มีหน้าที่สร้างน้ำมันและไขมัน น้ำมันและไขมันที่ถูกสร้างขึ้นนี้จะถูกขับออกทางท่อน้ำมัน ซึ่งมีรูเปิดเดียวกับรูขุมขน เมื่อมีการกระตุ้นต่อมไขมัน น้ำมันและไขมันจะถูกสร้างมากขึ้น หากมีการสร้างไขมันที่มากเกินไปด้วยอิทธิพลของฮอร์โมน ร่วมกับการผลัดเซลล์ผิวที่ผิดปกติทำให้เกิดเป็นสิวอุดตัน หรือที่เรียกว่า โคมิโดน ต่อมาการอุดตันนั้นทําให้เกิดสภาพไร้ออกซิเจนในรูขุมขน แบคทีเรียที่ทําให้เกิดสิวหรือโพรพิโอนิแบคทีเรียมแอคเน่จะเจริญเติบโตได้ดี และทําให้เกิดการย่อยสลายไขมันและเป็นจุดเริ่มต้นของสิวอักเสบ
สาเหตุของการเกิดสิว
การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกายจะมีผลต่อการเกิดสิว และยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการเกิดสิว เช่น กรรมพันธุ์ อารมณ์ อาหาร อากาศ ยา โดยรวมแล้วสามารถแบ่งปัจจัยหลักได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. ปัจจัยภายในร่างกาย
- การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนที่สูงขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น หรือวัยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการกระตุ้นต่อมไขมันให้ขับน้ำมันออกมามากกว่าปกติ เกิดการสะสมจนอุดตันร่วมกับเซลล์ผิวเสียและแบคทีเรียทำให้เกิดสิวอักเสบ
- การตั้งครรภ์ หรือช่วงก่อนการมีประจำเดือน วัยรุ่นช่วงอายุ 11-14 ปี จะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้เกิดการอักเสบของรูขุมขนและเกิดสิว
- กรรมพันธุ์ (Genetics) เช่น พ่อหรือแม่ที่มีประวัติเป็นสิวอักเสบหรือสิวเรื้อรัง ลูกก็มีโอกาสที่จะเป็นสิวชนิดเดียวกัน
- โรคบางชนิด เช่น โรคถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic ovary syndrome)
- ความเครียด (Stress) ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งทำให้เกิดสิว
2. ปัจจัยภายนอกร่างกาย
- อาหารบางชนิด เช่น อาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ช็อกโกแลต หรืออาหารจำพวกแป้ง ทั้งนี้อาหารที่เป็นสาเหตุให้เกิดสิวของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน
- ยาบางชนิด เช่น ยาที่มีส่วนผสมของคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เทสโทสเตอโรน (Testosterone) หรือลิเธียม (Lithium)
- เครื่องสำอางบางชนิด และผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เช่น แป้งทาหน้า หรือครีมบางชนิดที่ทำให้เกิดการระคายเคือง หรือการเกิดการอุดตันในรูขุมขน
- สิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่น ควัน มลภาวะเป็นพิษทางอากาศ PM2.5 ความไม่สะอาด
วิธีการรักษาสิว
- ยารับประทาน เป็นวิธีการรักษาสิวในระดับรุนแรงและเป็นการรักษาที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น ยารับประทานจะช่วยลดปัญหาของความมันที่ก่อให้เกิดการอุดตัน จึงมักมีผลข้างเคียงทำให้ผิวหนังแห้งลอก ปากแห้ง และผิวไวต่อแสงได้ ดังนั้นการรักษาสิวด้วยวิธีนี้จึงต้องดื่มน้ำเยอะ ๆ ทามอยเจอร์ไรเซอร์ และครีมกันแดดเป็นประจำ
- ทายารักษาสิว ยารักษาสิวแบบทาเป็นวิธีการรักษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งโดยปกติแล้วครีมหรือยาทารักษาสิวจะมีส่วนผสมที่ช่วยลดการอุดตัน ลดการอักเสบและกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิว รวมถึงช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว ซึ่งอาจทำให้รู้สึกระคายเคือง ผิวแห้งลอกเป็นขุย หรือแม้กระทั่งแสบร้อนบริเวณที่ทาได้ในบางครั้ง
- หัตถการทางการแพทย์ วิธีนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาที่มีผลข้างเคียงน้อย แต่ให้ประสิทธิภาพดีและเห็นผลได้เร็ว เช่น เลเซอร์เพื่อลดรอยแดงหรือรักษาหลุมสิว ฉีดยาลดการอักเสบหรือการฉายแสงเพื่อฆ่าเชื้อและลดการอักเสบ
5 สิ่งที่ไม่ควรทำ
1. บีบ แกะ เกาสิว
การบีบ แกะ เกาสิว หรือสัมผัสผิวหน้าบ่อย ทำให้เกิดสิ่งสกปรกที่ก่อให้เกิดสิวได้มากขึ้น และหากมีสิวที่ยังอักเสบนั้นทำให้อาการแย่ลง รวมถึงทำให้เป็นรอยแดงและเป็นหลุมสิวได้
2. กินอาหารมัน ทอด และของหวาน
อาหารเหล่านี้สามารถกระตุ้นการอักเสบของผิวรวมถึงปัญหาสิวได้ ดังนั้นในช่วงที่เป็นสิวหรือกำลังรักษาสิวให้งดหรือหลีกเลี่ยง และรับประทานผักผลไม้ที่มีกากใยเยอะขึ้น รวมถึงดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย เพื่อขับของเสียออกจากร่างกายและการอักเสบได้ด้วย
3. ไม่ทาครีมกันแดด
หลายคนที่เป็นสิวมักกลัวการทาครีมกันแดดในช่วงที่เป็นสิว เพราะเข้าใจว่าจะยิ่งทำให้อุดตันและเป็นสิวมากขึ้น ซึ่งในความจริงแล้วการทาครีมกันแดดจะเป็นเหมือนโล่กำบังผิวหน้าไม่ให้ถูกทำร้าย อีกทั้งยังช่วยกรองไม่ให้แสงแดดไปกระตุ้นสิวชนิดที่กระตุ้นโดยแสงแดด แต่การทาครีมกันแดดควรเลือกเนื้อครีมให้เหมาะกับสภาพผิว เพื่อลดการเกิดการอุดตัน
4. เครียดและนอนดึก
ความเครียด การนอนน้อย พักผ่อนน้อย จะทำให้ฮอร์โมนแปรปรวน ชนิดที่ต้องหลั่งออกมาซ่อมแซมร่างกายกลับลดน้อยลง อีกทั้งยังหลั่งฮอร์โมนที่รบกวนการทำงานของร่างกายออกมามากขึ้น ซึ่งรบกวนทั้งระบบการเผาผลาญ ระบบการย่อยอาหาร ระบบการนอนหลับ และระบบการทำงานของต่อมไขมัน ส่งผลให้ปัญหาสิวปะทุเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
5. ทำความสะอาดและการรักษาสิวไม่ต่อเนื่อง
ควรทำความสะอาดและรักษาสิวอย่างต่อเนื่อง เพราะระหว่างวันผิวหน้าต้องเจอทั้งฝุ่นควัน เครื่องสำอาง ครีมกันแดด เหงื่อไคล และความมันส่วนเกินบนใบหน้า สิ่งเหล่านี้สามารถอุดตันและเป็นเชื้อกระตุ้นให้เกิดสิว ดังนั้นอย่าละเลยเรื่องความสะอาดล้างหน้าทำความสะอาดและทายารักษาสิว เพื่อดูแลปัญหาสิวให้ดีขึ้น
บทความโดย: นพ.สิทธิโรจน์ อรุณขจรศักดิ์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A
บทความที่เกี่ยวข้อง
สิว (Acne) คือ การอุดตันของระบบต่อมไขมันในรูขุมขน ซึ่งตามปกติแล้วไขมันที่สร้างจากต่อมไขมันจะออกมาตามรูขุมขน หากมีการอุดตันของทางเดินก็จะทำให้เกิดสิวอุดตันขึ้น ซึ่งจะพบเป็นลักษณะตุ่มเม็ดเล็ก ๆ เป็นไตสีขาว ๆ อยู่ข้างใน หากมีตัวกระตุ้นเพิ่มเติม เช่น แบคทีเรีย ก็อาจจะทำให้เกิดการอักเสบได้ และหากสิวอักเสบมากขึ้นแล้วก็จะกลายเป็นตุ่มหนอง เป็นสิวหัวช้าง และเป็นซีสต์ได้
ชนิดของสิว สามารถแบ่งได้ 2 ชนิดตามลักษณะที่พบ ได้แก่
1. สิวที่ไม่มีการอักเสบ
- สิวอุดตัน (Comedones) คือ สิวที่เกิดจากการสะสมอุดตันของไขมันส่วนเกิน เซลล์ผิวเสีย หรือสิ่งสกปรกตกค้างในรูขุมขนจนทำให้เกิดสิวอุดตันทั้งแบบสิวหัวเปิด สิวหัวปิด หรือสิวอุดตันใต้ชั้นผิวหนัง ซึ่งสิวอุดตันแบ่งเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1) สิวหัวขาว (Whiteheads) คือ สิวอุดตันชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นตุ่มเล็กสีขาวหัวปิด มีสาเหตุเกิดจากระดับฮอร์โมน การอุดตันของน้ำมันหรือเซลล์ผิวเสีย หรือกรรมพันธุ์ ยาคุมกำเนิด เครื่องสำอาง หรือฝุ่นละออง มลภาวะในอากาศ ทำให้เกิดการอุดตันของน้ำมัน และเซลล์ผิวเสียในรูขุมขนที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีขาวใต้ผิวหนังที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อและสิวอักเสบ
2) สิวหัวดำ (Blackheads) เกิดจากไขมันส่วนเกิน เส้นขน หรือเซลล์ผิวเสียที่อุดตันในรูขุมขน และทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจนทำให้เป็นสิวหัวดำมีลักษณะเป็นสิวหัวเปิด สิวหัวดำเป็นสิวชนิดที่พบได้บ่อย
- สิวเสี้ยน (Pimples) คือ สิวที่พบได้ทั่วไปบนใบหน้า มีลักษณะเป็นสิวเล็ก ๆ คล้ายหนามที่เกิดจากความผิดปกติของรูขุมขนที่มีกระจุกขนเส้นเล็ก ๆ หลายเส้นขึ้นแทรกอยู่บนหัวสิวภายในรูขุมขนเดียวกัน เมื่อขนอ่อนที่อุดตันร่วมกับไขมันและเซลล์ผิวเสียส่งผลให้เกิดสิวเสี้ยน
- สิวผด (Acne Aestivalis) เป็นสิวหัวเปิดที่เกิดจากการถูกกระตุ้นด้วยรังสี UVA ความร้อนจากแสงแดดหรืออากาศร้อน ทำให้เกิดเป็นสิวผดที่มีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ คล้ายสิวอุดตันหรือตุ่มแดงคล้ายสิวอักเสบ
2. สิวอักเสบ
- สิวอักเสบ (Papules) คือ สิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดงเข้มถึงสีม่วง หรือมีสีเข้มกว่าสีผิวตามธรรมชาติ เป็นสิวที่กดแล้วเจ็บ โดยมักเกิดจากสิวหัวขาวที่ถูกกระตุ้นด้วยแบคทีเรียจนทำให้เกิดการอักเสบรุนแรง
- สิวหัวหนอง หรือสิวหัวเหลือง (Pustules) คือ สิวอักเสบชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นตุ่มบวมแดงขนาดใหญ่ที่ฐาน ด้านบนเป็นหนองสีเหลือง บวมนูน เป็นหนองที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ตายจากการต่อสู้กับเชื้อแบคที่เรียที่ทำให้เกิดการอักเสบและเป็นสิว ทั้งสิวหัวหนองขนาดเล็ก และสิวหัวหนองขนาดใหญ่
- สิวอักเสบขนาดใหญ่ หรือสิวไต (Nodules) คือ สิวอักเสบที่อยู่ชั้นผิวหนังด้านล่างคล้ายสิวหัวช้างแต่เล็กกว่า มีลักษณะเป็นก้อนนูนแดง เมื่อจับจะเป็นก้อนไตแข็งใต้ผิวหนัง ไม่มีหัว มักพบที่บริเวณใบหน้า หลัง หน้าอก สิวไตเป็นสิวที่ต้องใช้เวลาในการรักษา และอาจทำให้เกิดรอยแผลเป็น
- สิวเชื้อรา หรือสิวยีสต์ (Malassezia folliculitis) เกิดจากการอักเสบของต่อมรูขุมขนที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อราประเภทยีสต์ (Malassezia species) เป็นสิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มแดงและมีอาการคัน โดยมีปัจจัยจากสภาพอากาศที่ร้อน อับชื้น หรือเมื่อมีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ
- สิวหัวช้าง (Acne conglobata) เป็นสิวอักเสบชนิดรุนแรงที่มีหัวสิวขนาดใหญ่ เป็นตุ่ม หรือก้อนไตสีแดงที่เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมันใต้ชั้นผิวหนังบนใบหน้าที่ผลิตไขมันออกมามากกว่าปกติ จนไปอุดตันรูขุมขนและเกิดเป็นสิวอักเสบ บวม นูน ที่มีอาการเจ็บรุนแรงแม้ไม่ได้กด อาการเจ็บอาจร้าวไปที่ผิวหนังรอบ ๆ โดยไม่ทุเลาลงในเร็ววัน ควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษา
- สิวซีสต์ (Acne cysts) เป็นสิวที่มีลักษณะเป็นก้อนนูนแดงขนาดใหญ่ ภายในเป็นโพรงมีหนองปนเลือดที่เกิดจากการอักเสบรุนแรงใต้ชั้นผิวหนัง สิวซีสต์เป็นสิวที่มีระดับความเจ็บปวดมากที่สุด เป็นสิวที่มีหัวสิวหลายหัวกระจุกตัวรวมกันเป็นไตแข็ง และสามารถขยายขนาดใหญ่ขึ้นได้ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เป็นสิวเรื้อรัง เป็นแผลเป็น หรือเป็นหลุมสิวขนาดใหญ่ ควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษา
การเกิดสิว
สิวมักเกิดบริเวณใบหน้า หน้าอก หลังช่วงบน ไหล่ ซึ่งเป็นบริเวณที่ต่อมไขมันทํางานมาก ต่อมไขมันเป็นต่อมที่อยู่ใต้ผิวหนัง มีหน้าที่สร้างน้ำมันและไขมัน น้ำมันและไขมันที่ถูกสร้างขึ้นนี้จะถูกขับออกทางท่อน้ำมัน ซึ่งมีรูเปิดเดียวกับรูขุมขน เมื่อมีการกระตุ้นต่อมไขมัน น้ำมันและไขมันจะถูกสร้างมากขึ้น หากมีการสร้างไขมันที่มากเกินไปด้วยอิทธิพลของฮอร์โมน ร่วมกับการผลัดเซลล์ผิวที่ผิดปกติทำให้เกิดเป็นสิวอุดตัน หรือที่เรียกว่า โคมิโดน ต่อมาการอุดตันนั้นทําให้เกิดสภาพไร้ออกซิเจนในรูขุมขน แบคทีเรียที่ทําให้เกิดสิวหรือโพรพิโอนิแบคทีเรียมแอคเน่จะเจริญเติบโตได้ดี และทําให้เกิดการย่อยสลายไขมันและเป็นจุดเริ่มต้นของสิวอักเสบ
สาเหตุของการเกิดสิว
การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกายจะมีผลต่อการเกิดสิว และยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการเกิดสิว เช่น กรรมพันธุ์ อารมณ์ อาหาร อากาศ ยา โดยรวมแล้วสามารถแบ่งปัจจัยหลักได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. ปัจจัยภายในร่างกาย
- การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนที่สูงขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น หรือวัยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการกระตุ้นต่อมไขมันให้ขับน้ำมันออกมามากกว่าปกติ เกิดการสะสมจนอุดตันร่วมกับเซลล์ผิวเสียและแบคทีเรียทำให้เกิดสิวอักเสบ
- การตั้งครรภ์ หรือช่วงก่อนการมีประจำเดือน วัยรุ่นช่วงอายุ 11-14 ปี จะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้เกิดการอักเสบของรูขุมขนและเกิดสิว
- กรรมพันธุ์ (Genetics) เช่น พ่อหรือแม่ที่มีประวัติเป็นสิวอักเสบหรือสิวเรื้อรัง ลูกก็มีโอกาสที่จะเป็นสิวชนิดเดียวกัน
- โรคบางชนิด เช่น โรคถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic ovary syndrome)
- ความเครียด (Stress) ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งทำให้เกิดสิว
2. ปัจจัยภายนอกร่างกาย
- อาหารบางชนิด เช่น อาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ช็อกโกแลต หรืออาหารจำพวกแป้ง ทั้งนี้อาหารที่เป็นสาเหตุให้เกิดสิวของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน
- ยาบางชนิด เช่น ยาที่มีส่วนผสมของคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เทสโทสเตอโรน (Testosterone) หรือลิเธียม (Lithium)
- เครื่องสำอางบางชนิด และผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เช่น แป้งทาหน้า หรือครีมบางชนิดที่ทำให้เกิดการระคายเคือง หรือการเกิดการอุดตันในรูขุมขน
- สิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่น ควัน มลภาวะเป็นพิษทางอากาศ PM2.5 ความไม่สะอาด
วิธีการรักษาสิว
- ยารับประทาน เป็นวิธีการรักษาสิวในระดับรุนแรงและเป็นการรักษาที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น ยารับประทานจะช่วยลดปัญหาของความมันที่ก่อให้เกิดการอุดตัน จึงมักมีผลข้างเคียงทำให้ผิวหนังแห้งลอก ปากแห้ง และผิวไวต่อแสงได้ ดังนั้นการรักษาสิวด้วยวิธีนี้จึงต้องดื่มน้ำเยอะ ๆ ทามอยเจอร์ไรเซอร์ และครีมกันแดดเป็นประจำ
- ทายารักษาสิว ยารักษาสิวแบบทาเป็นวิธีการรักษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งโดยปกติแล้วครีมหรือยาทารักษาสิวจะมีส่วนผสมที่ช่วยลดการอุดตัน ลดการอักเสบและกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิว รวมถึงช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว ซึ่งอาจทำให้รู้สึกระคายเคือง ผิวแห้งลอกเป็นขุย หรือแม้กระทั่งแสบร้อนบริเวณที่ทาได้ในบางครั้ง
- หัตถการทางการแพทย์ วิธีนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาที่มีผลข้างเคียงน้อย แต่ให้ประสิทธิภาพดีและเห็นผลได้เร็ว เช่น เลเซอร์เพื่อลดรอยแดงหรือรักษาหลุมสิว ฉีดยาลดการอักเสบหรือการฉายแสงเพื่อฆ่าเชื้อและลดการอักเสบ
5 สิ่งที่ไม่ควรทำ
1. บีบ แกะ เกาสิว
การบีบ แกะ เกาสิว หรือสัมผัสผิวหน้าบ่อย ทำให้เกิดสิ่งสกปรกที่ก่อให้เกิดสิวได้มากขึ้น และหากมีสิวที่ยังอักเสบนั้นทำให้อาการแย่ลง รวมถึงทำให้เป็นรอยแดงและเป็นหลุมสิวได้
2. กินอาหารมัน ทอด และของหวาน
อาหารเหล่านี้สามารถกระตุ้นการอักเสบของผิวรวมถึงปัญหาสิวได้ ดังนั้นในช่วงที่เป็นสิวหรือกำลังรักษาสิวให้งดหรือหลีกเลี่ยง และรับประทานผักผลไม้ที่มีกากใยเยอะขึ้น รวมถึงดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย เพื่อขับของเสียออกจากร่างกายและการอักเสบได้ด้วย
3. ไม่ทาครีมกันแดด
หลายคนที่เป็นสิวมักกลัวการทาครีมกันแดดในช่วงที่เป็นสิว เพราะเข้าใจว่าจะยิ่งทำให้อุดตันและเป็นสิวมากขึ้น ซึ่งในความจริงแล้วการทาครีมกันแดดจะเป็นเหมือนโล่กำบังผิวหน้าไม่ให้ถูกทำร้าย อีกทั้งยังช่วยกรองไม่ให้แสงแดดไปกระตุ้นสิวชนิดที่กระตุ้นโดยแสงแดด แต่การทาครีมกันแดดควรเลือกเนื้อครีมให้เหมาะกับสภาพผิว เพื่อลดการเกิดการอุดตัน
4. เครียดและนอนดึก
ความเครียด การนอนน้อย พักผ่อนน้อย จะทำให้ฮอร์โมนแปรปรวน ชนิดที่ต้องหลั่งออกมาซ่อมแซมร่างกายกลับลดน้อยลง อีกทั้งยังหลั่งฮอร์โมนที่รบกวนการทำงานของร่างกายออกมามากขึ้น ซึ่งรบกวนทั้งระบบการเผาผลาญ ระบบการย่อยอาหาร ระบบการนอนหลับ และระบบการทำงานของต่อมไขมัน ส่งผลให้ปัญหาสิวปะทุเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
5. ทำความสะอาดและการรักษาสิวไม่ต่อเนื่อง
ควรทำความสะอาดและรักษาสิวอย่างต่อเนื่อง เพราะระหว่างวันผิวหน้าต้องเจอทั้งฝุ่นควัน เครื่องสำอาง ครีมกันแดด เหงื่อไคล และความมันส่วนเกินบนใบหน้า สิ่งเหล่านี้สามารถอุดตันและเป็นเชื้อกระตุ้นให้เกิดสิว ดังนั้นอย่าละเลยเรื่องความสะอาดล้างหน้าทำความสะอาดและทายารักษาสิว เพื่อดูแลปัญหาสิวให้ดีขึ้น
บทความโดย: นพ.สิทธิโรจน์ อรุณขจรศักดิ์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A
บทความที่เกี่ยวข้อง