การทำเลเซอร์รักษาสายตาสั้นและสายตายาวด้วย Monovision LASIK

การแก้ไขค่าสายตาแบบโมโนวิชั่น (Monovision correction) โดยทั่วไปคนสายตาปกติและอายุน้อยจะสามารถมองเห็นได้ทั้งระยะใกล้และไกลชัดเจน เมื่ออายุมากขึ้นประมาณ 37 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีภาวะสายตายาวตามอายุ (Presbyopia) เกิดจากกล้ามเนื้อตาที่ใช้ในการมองระยะใกล้ประสิทธิภาพลดลง (Accommodation) ทำให้มองระยะใกล้ไม่ชัด ต้องยืดแขนออกห่างจึงจะมองเห็นชัดขึ้นหรือต้องใช้แว่นอ่านหนังสือ

การผ่าตัดแก้ไขค่าสายตาผิดปกติด้วยแสงเลเซอร์ มี 2 ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่เริ่มมีค่าสายตายาวตามอายุ

1. การแก้ไขแบบเต็ม (Full correction)

การแก้ไขสายตาสั้นและเอียงหลังการผ่าตัดการมองเห็นระยะไกลจะชัด แต่เนื่องจากมีสายตายาวตามอายุต้องใส่แว่นมองระยะใกล้ เมื่อต้องการทำกิจกรรมระยะใกล้ รอบตัว เช่น อ่านหนังสือ เซ็นเอกสาร ดูป้ายสินค้า ดูหน้าจอโทรศัพท์ เป็นต้น

2. การแก้ไขแบบโมโนวิชั่น (Monovision correction) 

ส่วนใหญ่ตาข้างที่ถนัดหรือตาเด่นจะเป็นตาหลักในการมองไกล ส่วนตาอีกข้างจะเป็นตาหลักในการมองใกล้

การรักษา ใช้เลเซอร์แก้ไขค่าสายตาสั้นและเอียงออกข้างหนึ่ง เพื่อทำให้มองไกลชัด และอีกข้างตั้งใจทำให้เหลือสายตาสั้นไว้เล็กน้อย เพื่อทำมองใกล้ได้ การแก้ไขลักษณะนี้ตาทั้งสองข้างจะทำงานร่วมกันเพื่อให้มองเห็นทั้งที่ใกล้และที่ไกลได้

ขั้นตอนการเตรียมตัวและการเข้ารับตรวจประเมินการแก้ไขค่าสายตา

1. จักษุแพทย์ประเมินสุขภาพตา ว่าเหมาะสมสามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดแก้ไขค่าสายตาด้วยแสงเลเซอร์ได้หรือไม่ ผู้ที่ผ่านการประเมินจะต้องต้องไม่มีโรคเกี่ยวข้องกับกระจกตาที่ส่งผลต่อการมองเห็น เช่น โรคตาแห้งอย่างรุนแรง โรคกระจกตาโก่ง หรือโรคตาอื่น ๆ เช่น จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก ต้อหิน

2. สุขภาพร่างกาย ไม่เป็นโรคทางร่างกายที่ทำให้แผลหายยาก เช่น โรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง โรคเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus-SLE) โรครูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี ผู้ที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร

3. ข้อจำกัดสำหรับผู้ที่รับประทานยารักษาสิว ในกลุ่มไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin) เช่น โรแอคคิวเทน (Roaccutane), แอคโนทิน (Acnotin), ไอโสเทรส (Isotret) ควรหยุดยาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนวันเข้ารับการตรวจวิเคราะห์สภาพตาและก่อนเข้ารับการผ่าตัด 

4. ผู้ป่วยที่ใส่คอนแทคเลนส์ ควรงดใส่คอนแทคเลนส์ก่อนวันตรวจวิเคราะห์สภาพตาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือขึ้นกับประเภทของคอนแทคเลนส์ที่ใช้ โดยสามารถใช้แว่นสายตาแทนในระหว่างที่ไม่ได้ใส่คอนแทคเลนส์

ขั้นตอนการทำหัตถการ การตรวจวัดค่าสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ทดสอบระดับการมองเห็นทั้ง 2 แบบ วัดความดันลูกตา การถ่ายภาพพื้นผิวและรูปทรงกระจกตา วัดความหนากระจกตา หยอดยาขยายม่านตาเพื่อรับการตรวจจอประสาทตา ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดจะถูกรวบรวมและนำไปวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

  • เจ้าหน้าที่นัดหมายวัน และเวลาที่จะเข้ารับการผ่าตัดให้กับผู้ป่วยภายหลังจักษุแพทย์ตรวจประเมินแล้วว่าสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้
  • การผ่าตัดทำโดยการใช้ยาชาเฉพาะที่ (ยาชาชนิดหยอด)
  • หลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้น ผู้ป่วยจะได้รับการหยอดยาฆ่าเชื้อ แพทย์ปิดฝาที่ครอบตาผู้ป่วยสามารถเดินทางกลับบ้านได้ในวันนั้น
  • จักษุแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจหลังผ่าตัดในวันรุ่งขึ้น และมีตารางนัดหมายตรวจติดตามเป็นระยะต่อไป

ข้อมูลจาก : พญ. บัณฑิตา เลิศสุวรรณโรจน์

สอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์เลเซอร์แก้ไขสายตา “The SiGHT by SiPH” ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A

การแก้ไขค่าสายตาแบบโมโนวิชั่น (Monovision correction) โดยทั่วไปคนสายตาปกติและอายุน้อยจะสามารถมองเห็นได้ทั้งระยะใกล้และไกลชัดเจน เมื่ออายุมากขึ้นประมาณ 37 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีภาวะสายตายาวตามอายุ (Presbyopia) เกิดจากกล้ามเนื้อตาที่ใช้ในการมองระยะใกล้ประสิทธิภาพลดลง (Accommodation) ทำให้มองระยะใกล้ไม่ชัด ต้องยืดแขนออกห่างจึงจะมองเห็นชัดขึ้นหรือต้องใช้แว่นอ่านหนังสือ

การผ่าตัดแก้ไขค่าสายตาผิดปกติด้วยแสงเลเซอร์ มี 2 ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่เริ่มมีค่าสายตายาวตามอายุ

1. การแก้ไขแบบเต็ม (Full correction)

การแก้ไขสายตาสั้นและเอียงหลังการผ่าตัดการมองเห็นระยะไกลจะชัด แต่เนื่องจากมีสายตายาวตามอายุต้องใส่แว่นมองระยะใกล้ เมื่อต้องการทำกิจกรรมระยะใกล้ รอบตัว เช่น อ่านหนังสือ เซ็นเอกสาร ดูป้ายสินค้า ดูหน้าจอโทรศัพท์ เป็นต้น

2. การแก้ไขแบบโมโนวิชั่น (Monovision correction) 

ส่วนใหญ่ตาข้างที่ถนัดหรือตาเด่นจะเป็นตาหลักในการมองไกล ส่วนตาอีกข้างจะเป็นตาหลักในการมองใกล้

การรักษา ใช้เลเซอร์แก้ไขค่าสายตาสั้นและเอียงออกข้างหนึ่ง เพื่อทำให้มองไกลชัด และอีกข้างตั้งใจทำให้เหลือสายตาสั้นไว้เล็กน้อย เพื่อทำมองใกล้ได้ การแก้ไขลักษณะนี้ตาทั้งสองข้างจะทำงานร่วมกันเพื่อให้มองเห็นทั้งที่ใกล้และที่ไกลได้

ขั้นตอนการเตรียมตัวและการเข้ารับตรวจประเมินการแก้ไขค่าสายตา

1. จักษุแพทย์ประเมินสุขภาพตา ว่าเหมาะสมสามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดแก้ไขค่าสายตาด้วยแสงเลเซอร์ได้หรือไม่ ผู้ที่ผ่านการประเมินจะต้องต้องไม่มีโรคเกี่ยวข้องกับกระจกตาที่ส่งผลต่อการมองเห็น เช่น โรคตาแห้งอย่างรุนแรง โรคกระจกตาโก่ง หรือโรคตาอื่น ๆ เช่น จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก ต้อหิน

2. สุขภาพร่างกาย ไม่เป็นโรคทางร่างกายที่ทำให้แผลหายยาก เช่น โรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง โรคเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus-SLE) โรครูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี ผู้ที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรืออยู่ในระยะให้นมบุตร

3. ข้อจำกัดสำหรับผู้ที่รับประทานยารักษาสิว ในกลุ่มไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin) เช่น โรแอคคิวเทน (Roaccutane), แอคโนทิน (Acnotin), ไอโสเทรส (Isotret) ควรหยุดยาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนวันเข้ารับการตรวจวิเคราะห์สภาพตาและก่อนเข้ารับการผ่าตัด 

4. ผู้ป่วยที่ใส่คอนแทคเลนส์ ควรงดใส่คอนแทคเลนส์ก่อนวันตรวจวิเคราะห์สภาพตาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือขึ้นกับประเภทของคอนแทคเลนส์ที่ใช้ โดยสามารถใช้แว่นสายตาแทนในระหว่างที่ไม่ได้ใส่คอนแทคเลนส์

ขั้นตอนการทำหัตถการ การตรวจวัดค่าสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ทดสอบระดับการมองเห็นทั้ง 2 แบบ วัดความดันลูกตา การถ่ายภาพพื้นผิวและรูปทรงกระจกตา วัดความหนากระจกตา หยอดยาขยายม่านตาเพื่อรับการตรวจจอประสาทตา ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดจะถูกรวบรวมและนำไปวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

  • เจ้าหน้าที่นัดหมายวัน และเวลาที่จะเข้ารับการผ่าตัดให้กับผู้ป่วยภายหลังจักษุแพทย์ตรวจประเมินแล้วว่าสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้
  • การผ่าตัดทำโดยการใช้ยาชาเฉพาะที่ (ยาชาชนิดหยอด)
  • หลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้น ผู้ป่วยจะได้รับการหยอดยาฆ่าเชื้อ แพทย์ปิดฝาที่ครอบตาผู้ป่วยสามารถเดินทางกลับบ้านได้ในวันนั้น
  • จักษุแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจหลังผ่าตัดในวันรุ่งขึ้น และมีตารางนัดหมายตรวจติดตามเป็นระยะต่อไป

ข้อมูลจาก : พญ. บัณฑิตา เลิศสุวรรณโรจน์

สอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์เลเซอร์แก้ไขสายตา “The SiGHT by SiPH” ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง