
มะเร็งไตและมะเร็งต่อมหมวกไต รู้ไว รักษาได้!
มะเร็งไต และมะเร็งต่อมหมวกไต เป็นโรคที่เกิดขึ้นในบริเวณไตและบริเวณโดยรอบ ไตมีหน้าที่สำคัญในการกรองของเสีย ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือในเลือด และช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย เมื่อเกิดความผิดปกติในไต อาจส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะในกรณีมะเร็งไตที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
ไตเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ หน้าที่หลัก คือ การกำจัดของเสียออกจากร่างกายผ่านทางระบบปัสสาวะ ควบคุมสมดุลน้ำในร่างกาย และผลิตฮอร์โมนที่จำเป็น ซึ่งหากเกิดความผิดปกติขึ้นกับไต ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายตามไปด้วย โดยโรคเกี่ยวกับไตที่เรามักจะพบบ่อย ๆ ได้แก่ ไตเรื้อรัง ไตวายเฉียบพลัน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม โรคไตที่เกี่ยวข้องกับระบบปัสสาวะ ถือได้ว่ามีความสำคัญ และไม่ควรละเลย คือ โรคมะเร็งไตหรือต่อมหมวกไต
มะเร็งไตคืออะไร?
มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติเกิดเป็นก้อนเนื้อที่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง ซึ่งเราเรียกชื่อมะเร็งตามอวัยวะของร่างกายที่มะเร็งเกิดขึ้น เช่น มะเร็งตับ มะเร็งสมอง มะเร็งปอด เมื่อก้อนมะเร็งเกิดขึ้นที่ไต เราจึงเรียกว่า “มะเร็งไต” ซึ่งมะเร็งไต จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ มะเร็งเนื้อไต และมะเร็งกรวยไต
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งไต แม้มะเร็งไตจะพบได้น้อยกว่ามะเร็งชนิดอื่น ๆ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
- การสูบบุหรี่
- โรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน ความดันเลือดสูง
- โรคทางพันธุกรรมบางชนิด
- การสัมผัสสารเคมีในที่ทำงาน
- พบได้บ่อยในเพศชาย
อาการของมะเร็งไต มักไม่แสดงเด่นชัดในระยะแรก ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบตัวจนตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี
- อาการในมะเร็งเนื้อไต:
- ระยะแรกอาจไม่มีอาการเด่น มักจะตรวจพบได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี เช่น การตรวจอัลตร้าซาวนด์ช่องท้อง
- เมื่อก้อนมะเร็งขยายใหญ่ ผู้ป่วยอาจคลำเจอก้อนเนื้อหรือมีอาการปวดบริเวณเอวหรือใต้ชายโครงด้านใดด้านหนึ่ง บางรายอาจมีปัสสาวะเป็นเลือดร่วมด้วย
- อาการในมะเร็งกรวยไต:
- ปัสสาวะเป็นเลือด สังเกตได้ด้วยตาเปล่าหรือหรือตรวจเจอเม็ดเลือดแดงในน้ำปัสสาวะจากการส่งตรวจน้ำปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ
ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) เป็นอวัยวะขนาดเล็กข้างละหนึ่งคู่ ตั้งอยู่เหนือไตทั้งสองข้าง มีหน้าที่หลักในการผลิตฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยควบคุมระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ความดันโลหิต การตอบสนองต่อความเครียด การเผาผลาญ น้ำตาล และเกลือแร่ในร่างกาย
มะเร็งต่อมหมวกไต (Adrenal cancer)
มะเร็งต่อมหมวกไต เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนที่ผลิตโดยต่อมหมวกไต ซึ่งตั้งอยู่บริเวณบนของไต ถูกล้อมรอบด้วยชั้นไขมันและเยื่อ Gerota’s fascia ต่อมหมวกไตแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
- มะเร็งต่อมหมวกไตชั้นนอก จะทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ จะเกิดอาการหน้าอ้วนกลม อ้วนบริเวณกลางลำตัว ตัวบวมฉุ ปัสสาวะบ่อย หิว กระหายน้ำ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่มีประจำเดือน น้ำตาลในเลือดสูง อารมณ์ผิดปกติ
- มะเร็งต่อมหมวกไตชั้นใน จะมีผลกับระบบหัวใจและหลอดเลือดเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยจะมีอาการความดันโลหิตสูง ใจเต้นเร็ว ท้องผูก ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง กระวนกระวาย อ่อนเพลีย มือสั่น เป็นต้น
อาการของมะเร็งต่อมหมวกไต สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. อาการจากก้อนเนื้องอก
- ปวดท้อง ปวดบริเวณสีข้างหรือเอว
- คลำพบก้อนบริเวณหน้าท้อง
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
2. อาการจากการผลิตฮอร์โมนผิดปกติ บางเนื้องอกจะผลิตฮอร์โมนมากผิดปกติจนร่างกายแสดงอาการ เช่น:
- ใบหน้ากลม (moon face) อ้วนเฉพาะช่วงลำตัว บวมน้ำ ผิวบาง เป็นรอยช้ำง่าย (Cushing's syndrome)
- ความดันโลหิตสูงแบบควบคุมยาก
- ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
- มือสั่น ใจสั่น เหงื่อออกมาก หงุดหงิดง่าย (จากฮอร์โมนอะดรีนาลีนมากเกิน)
- หญิงไม่มีประจำเดือน หรือมีขนขึ้นผิดปกติ
การรักษามะเร็งไตและมะเร็งต่อมหมวกไต
การรักษาด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดถือเป็นวิธีการรักษาหลักในการกำจัดมะเร็งไตและมะเร็งต่อมหมวกไต
1. การผ่าตัดเป็นแนวทางหลักในการรักษา
- แบบส่องกล้อง (Laparoscopic Adrenalectomy): แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว เหมาะสำหรับเนื้องอกขนาดเล็ก
- แบบเปิดหน้าท้อง (Open Surgery): ใช้ในกรณีเนื้องอกขนาดใหญ่หรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งร้ายแรง เพราะช่วยให้ศัลยแพทย์ควบคุมสถานการณ์ได้ดีกว่า
2. เคมีบำบัด (Chemotherapy) ใช้ในกรณีที่มะเร็งแพร่กระจาย หรือมะเร็งชนิดที่ดื้อต่อการรักษา เช่น Adrenocortical carcinoma โดยอาจใช้ยา mitotane ร่วมด้วย
3. การฉายรังสี (Radiotherapy) ใช้เพื่อบรรเทาอาการในกรณีมะเร็งลุกลาม หรือช่วยควบคุมโรคหลังการผ่าตัด
4. การรักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted therapy) หรือภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
การดูแลหลังการรักษา
- การติดตามผล ผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์เป็นประจำเพื่อติดตามผลการรักษาและตรวจหาการกลับมาของมะเร็ง
- การทดแทนฮอร์โมน ในบางกรณี เมื่อมีการสูญเสียหน้าที่ของต่อมหมวกไต ผู้ป่วยอาจต้องได้รับฮอร์โมนทดแทน
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่
- รักษาสุขภาพให้ดี ลดโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วนและความดันเลือดสูง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
การตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาและการดูแลหลังการผ่าตัดควรเป็นการวางแผนร่วมกับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความเหมาะสมและความปลอดภัยในทุกขั้นตอน อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยได้รับการรักษาแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องมาพบแพทย์ เพื่อตรวจติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง
บทความโดย: ผศ. นพ.ศิรส จิตประไพ ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A
มะเร็งไต และมะเร็งต่อมหมวกไต เป็นโรคที่เกิดขึ้นในบริเวณไตและบริเวณโดยรอบ ไตมีหน้าที่สำคัญในการกรองของเสีย ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือในเลือด และช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย เมื่อเกิดความผิดปกติในไต อาจส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะในกรณีมะเร็งไตที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
ไตเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ หน้าที่หลัก คือ การกำจัดของเสียออกจากร่างกายผ่านทางระบบปัสสาวะ ควบคุมสมดุลน้ำในร่างกาย และผลิตฮอร์โมนที่จำเป็น ซึ่งหากเกิดความผิดปกติขึ้นกับไต ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายตามไปด้วย โดยโรคเกี่ยวกับไตที่เรามักจะพบบ่อย ๆ ได้แก่ ไตเรื้อรัง ไตวายเฉียบพลัน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม โรคไตที่เกี่ยวข้องกับระบบปัสสาวะ ถือได้ว่ามีความสำคัญ และไม่ควรละเลย คือ โรคมะเร็งไตหรือต่อมหมวกไต
มะเร็งไตคืออะไร?
มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติเกิดเป็นก้อนเนื้อที่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง ซึ่งเราเรียกชื่อมะเร็งตามอวัยวะของร่างกายที่มะเร็งเกิดขึ้น เช่น มะเร็งตับ มะเร็งสมอง มะเร็งปอด เมื่อก้อนมะเร็งเกิดขึ้นที่ไต เราจึงเรียกว่า “มะเร็งไต” ซึ่งมะเร็งไต จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ มะเร็งเนื้อไต และมะเร็งกรวยไต
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งไต แม้มะเร็งไตจะพบได้น้อยกว่ามะเร็งชนิดอื่น ๆ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
- การสูบบุหรี่
- โรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน ความดันเลือดสูง
- โรคทางพันธุกรรมบางชนิด
- การสัมผัสสารเคมีในที่ทำงาน
- พบได้บ่อยในเพศชาย
อาการของมะเร็งไต มักไม่แสดงเด่นชัดในระยะแรก ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบตัวจนตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี
- อาการในมะเร็งเนื้อไต:
- ระยะแรกอาจไม่มีอาการเด่น มักจะตรวจพบได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี เช่น การตรวจอัลตร้าซาวนด์ช่องท้อง
- เมื่อก้อนมะเร็งขยายใหญ่ ผู้ป่วยอาจคลำเจอก้อนเนื้อหรือมีอาการปวดบริเวณเอวหรือใต้ชายโครงด้านใดด้านหนึ่ง บางรายอาจมีปัสสาวะเป็นเลือดร่วมด้วย
- อาการในมะเร็งกรวยไต:
- ปัสสาวะเป็นเลือด สังเกตได้ด้วยตาเปล่าหรือหรือตรวจเจอเม็ดเลือดแดงในน้ำปัสสาวะจากการส่งตรวจน้ำปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ
ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) เป็นอวัยวะขนาดเล็กข้างละหนึ่งคู่ ตั้งอยู่เหนือไตทั้งสองข้าง มีหน้าที่หลักในการผลิตฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยควบคุมระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ความดันโลหิต การตอบสนองต่อความเครียด การเผาผลาญ น้ำตาล และเกลือแร่ในร่างกาย
มะเร็งต่อมหมวกไต (Adrenal cancer)
มะเร็งต่อมหมวกไต เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนที่ผลิตโดยต่อมหมวกไต ซึ่งตั้งอยู่บริเวณบนของไต ถูกล้อมรอบด้วยชั้นไขมันและเยื่อ Gerota’s fascia ต่อมหมวกไตแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
- มะเร็งต่อมหมวกไตชั้นนอก จะทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ จะเกิดอาการหน้าอ้วนกลม อ้วนบริเวณกลางลำตัว ตัวบวมฉุ ปัสสาวะบ่อย หิว กระหายน้ำ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่มีประจำเดือน น้ำตาลในเลือดสูง อารมณ์ผิดปกติ
- มะเร็งต่อมหมวกไตชั้นใน จะมีผลกับระบบหัวใจและหลอดเลือดเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยจะมีอาการความดันโลหิตสูง ใจเต้นเร็ว ท้องผูก ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง กระวนกระวาย อ่อนเพลีย มือสั่น เป็นต้น
อาการของมะเร็งต่อมหมวกไต สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. อาการจากก้อนเนื้องอก
- ปวดท้อง ปวดบริเวณสีข้างหรือเอว
- คลำพบก้อนบริเวณหน้าท้อง
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
2. อาการจากการผลิตฮอร์โมนผิดปกติ บางเนื้องอกจะผลิตฮอร์โมนมากผิดปกติจนร่างกายแสดงอาการ เช่น:
- ใบหน้ากลม (moon face) อ้วนเฉพาะช่วงลำตัว บวมน้ำ ผิวบาง เป็นรอยช้ำง่าย (Cushing's syndrome)
- ความดันโลหิตสูงแบบควบคุมยาก
- ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
- มือสั่น ใจสั่น เหงื่อออกมาก หงุดหงิดง่าย (จากฮอร์โมนอะดรีนาลีนมากเกิน)
- หญิงไม่มีประจำเดือน หรือมีขนขึ้นผิดปกติ
การรักษามะเร็งไตและมะเร็งต่อมหมวกไต
การรักษาด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดถือเป็นวิธีการรักษาหลักในการกำจัดมะเร็งไตและมะเร็งต่อมหมวกไต
1. การผ่าตัดเป็นแนวทางหลักในการรักษา
- แบบส่องกล้อง (Laparoscopic Adrenalectomy): แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว เหมาะสำหรับเนื้องอกขนาดเล็ก
- แบบเปิดหน้าท้อง (Open Surgery): ใช้ในกรณีเนื้องอกขนาดใหญ่หรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งร้ายแรง เพราะช่วยให้ศัลยแพทย์ควบคุมสถานการณ์ได้ดีกว่า
2. เคมีบำบัด (Chemotherapy) ใช้ในกรณีที่มะเร็งแพร่กระจาย หรือมะเร็งชนิดที่ดื้อต่อการรักษา เช่น Adrenocortical carcinoma โดยอาจใช้ยา mitotane ร่วมด้วย
3. การฉายรังสี (Radiotherapy) ใช้เพื่อบรรเทาอาการในกรณีมะเร็งลุกลาม หรือช่วยควบคุมโรคหลังการผ่าตัด
4. การรักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted therapy) หรือภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
การดูแลหลังการรักษา
- การติดตามผล ผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์เป็นประจำเพื่อติดตามผลการรักษาและตรวจหาการกลับมาของมะเร็ง
- การทดแทนฮอร์โมน ในบางกรณี เมื่อมีการสูญเสียหน้าที่ของต่อมหมวกไต ผู้ป่วยอาจต้องได้รับฮอร์โมนทดแทน
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่
- รักษาสุขภาพให้ดี ลดโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วนและความดันเลือดสูง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
การตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาและการดูแลหลังการผ่าตัดควรเป็นการวางแผนร่วมกับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความเหมาะสมและความปลอดภัยในทุกขั้นตอน อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยได้รับการรักษาแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องมาพบแพทย์ เพื่อตรวจติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง
บทความโดย: ผศ. นพ.ศิรส จิตประไพ ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A