ตาขี้เกียจ รู้เร็ว รักษาได้

ตาขี้เกียจ คืออะไร? 

ตาขี้เกียจ หรือแอมไบลโอเปีย (Amblyopia, Lazy Eye) คือ ความสามารถในการมองเห็นลดลงข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง อาการที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างมองเห็นไม่ดีจนสมองปิดการรับรู้ภาพของตาข้างนั้นไป หรือปิดไปทั้งสองข้างแล้วพัฒนาประสาทสัมผัสด้านอื่นแทน ทำให้ไม่ได้ใช้งานตาข้างดังกล่าว ส่งผลต่อการมองเห็นของตาข้างนั้น

ตาขี้เกียจเกิดขึ้นได้ในเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 - 7 ปี หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา จะทำให้มีอาการตามัวอย่างถาวร และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้แว่นตา ทานยา หยอดยา การผ่าตัด หรือการทำเลสิก

สาเหตุของตาขี้เกียจ 

  • ภาวะตาเหล่ เป็นชนิดที่พบบ่อย มักเป็นตาข้างเดียว พบได้ในเด็กที่มีภาวะตาเหล่เข้าหรือตาเหล่ออก เมื่อมีภาวะตาเหล่การใช้ตามองภาพจะสามารถใช้ตาข้างที่ตรงมองภาพได้ชัด ส่วนตาข้างที่เหล่จะไม่สามารถรับภาพและส่งไปแปลผลที่สมองได้ จึงทำให้ตาข้างที่เหล่ไม่ได้รับการพัฒนาทางการมองเหมือนกับอีกข้าง
  • ภาวะสายตาผิดปกติ ได้แก่ ภาวะสายตายาว สายตาสั้น และสายตาเอียง เด็กที่มีสายตาผิดปกติมาก หรือสายตา 2 ข้างแตกต่างกันมาก ภาวะเช่นนี้มักใช้ตาข้างที่มองเห็นได้ชัดกว่า ส่วนอีกข้างจะถูกใช้งานน้อยหรือไม่ได้ใช้งานทำให้ตาไม่ได้รับการกระตุ้นส่งผลให้ลงการมองเห็นแย่ลง
  • โรคทางตาอื่น ๆ เช่น ต้อกระจกแต่กำเนิดโรคกระจกตาดำขุ่นมัว หนังตาตกมากจนปิด รูม่านตา โรคต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้แสงเดินทางผ่านเข้าไปในดวงตาไม่ดี จึงมองเห็นภาพไม่ชัด ส่งผลต่อการพัฒนาการมองเห็นได้

อาการ 

  1. ตามัว
  2. มองเห็นไม่ชัด  
  3. ตาสองข้างทำงานไม่ประสานกัน
  4. ลูกชอบเอียงหน้า เพ่งมองใกล้ ๆ เวลาอ่านหนังสือ 

การตรวจเบื้องต้น 

วิธีการที่ดีที่สุด คือ การวัดระดับสายตาในเด็ก และดูว่าเด็กมีภาวะตาเหล่ หรือมีความผิดปกติทางตาหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรรีบมาพบจักษุแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที 

การรักษาตาขี้เกียจ 

  1. การใช้แว่นสายตา ในกรณีตาขี้เกียจ เกิดจากปัญหาความผิดปกติทางสายตาจะเริ่มการรักษาโดยการใช้แว่นสายตาก่อน ซึ่งหากเด็กเริ่มมองเห็นชัดจากการใช้แว่น ก็ถือเป็นการกระตุ้นพัฒนาการในการมองเห็นได้
  2. การปิดตาข้างที่ดี เป็นการกระตุ้นให้ตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจได้ใช้งาน และส่งผลให้การมองเห็นดีขึ้น
  3. การหยอดตา โดยหยอดตาเฉพาะข้างที่ดี เพื่อทำให้ตาข้างที่ดีมัวลง เป็นการกระตุ้นตาข้างที่ขี้เกียจให้กลับมาทำงานให้ดีขึ้น
  4. การผ่าตัด กรณีที่สามารถทำการผ่าตัดเผื่อรักษาได้ เช่น การผ่าตัดต้อกระจก เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา หนังตาตก เพื่อทำให้ตาข้างนั้นมองชัดขึ้น จากนั้นจึงค่อยทำการปิดตาข้างที่ดีกว่าเพื่อกระตุ้นให้ตาข้างที่ด้อยกว่าได้ใช้งานมากขึ้น

ตาขี้เกียจในเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กกลับมาหายได้เป็นปกติ รวมทั้งควรสังเกตพฤติกรรมการมองเห็นของลูก หากมีอาการผิดปกติควรรีบพามาตรวจกับจักษุแพทย์เพื่อได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและถูกต้อง

ตรวจสอบโดย : ผศ. พญ. เพียงพร ศักดิ์ศิริวุฒโฒ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A

ตาขี้เกียจ คืออะไร? 

ตาขี้เกียจ หรือแอมไบลโอเปีย (Amblyopia, Lazy Eye) คือ ความสามารถในการมองเห็นลดลงข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง อาการที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างมองเห็นไม่ดีจนสมองปิดการรับรู้ภาพของตาข้างนั้นไป หรือปิดไปทั้งสองข้างแล้วพัฒนาประสาทสัมผัสด้านอื่นแทน ทำให้ไม่ได้ใช้งานตาข้างดังกล่าว ส่งผลต่อการมองเห็นของตาข้างนั้น

ตาขี้เกียจเกิดขึ้นได้ในเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 - 7 ปี หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา จะทำให้มีอาการตามัวอย่างถาวร และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้แว่นตา ทานยา หยอดยา การผ่าตัด หรือการทำเลสิก

สาเหตุของตาขี้เกียจ 

  • ภาวะตาเหล่ เป็นชนิดที่พบบ่อย มักเป็นตาข้างเดียว พบได้ในเด็กที่มีภาวะตาเหล่เข้าหรือตาเหล่ออก เมื่อมีภาวะตาเหล่การใช้ตามองภาพจะสามารถใช้ตาข้างที่ตรงมองภาพได้ชัด ส่วนตาข้างที่เหล่จะไม่สามารถรับภาพและส่งไปแปลผลที่สมองได้ จึงทำให้ตาข้างที่เหล่ไม่ได้รับการพัฒนาทางการมองเหมือนกับอีกข้าง
  • ภาวะสายตาผิดปกติ ได้แก่ ภาวะสายตายาว สายตาสั้น และสายตาเอียง เด็กที่มีสายตาผิดปกติมาก หรือสายตา 2 ข้างแตกต่างกันมาก ภาวะเช่นนี้มักใช้ตาข้างที่มองเห็นได้ชัดกว่า ส่วนอีกข้างจะถูกใช้งานน้อยหรือไม่ได้ใช้งานทำให้ตาไม่ได้รับการกระตุ้นส่งผลให้ลงการมองเห็นแย่ลง
  • โรคทางตาอื่น ๆ เช่น ต้อกระจกแต่กำเนิดโรคกระจกตาดำขุ่นมัว หนังตาตกมากจนปิด รูม่านตา โรคต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้แสงเดินทางผ่านเข้าไปในดวงตาไม่ดี จึงมองเห็นภาพไม่ชัด ส่งผลต่อการพัฒนาการมองเห็นได้

อาการ 

  1. ตามัว
  2. มองเห็นไม่ชัด  
  3. ตาสองข้างทำงานไม่ประสานกัน
  4. ลูกชอบเอียงหน้า เพ่งมองใกล้ ๆ เวลาอ่านหนังสือ 

การตรวจเบื้องต้น 

วิธีการที่ดีที่สุด คือ การวัดระดับสายตาในเด็ก และดูว่าเด็กมีภาวะตาเหล่ หรือมีความผิดปกติทางตาหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรรีบมาพบจักษุแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที 

การรักษาตาขี้เกียจ 

  1. การใช้แว่นสายตา ในกรณีตาขี้เกียจ เกิดจากปัญหาความผิดปกติทางสายตาจะเริ่มการรักษาโดยการใช้แว่นสายตาก่อน ซึ่งหากเด็กเริ่มมองเห็นชัดจากการใช้แว่น ก็ถือเป็นการกระตุ้นพัฒนาการในการมองเห็นได้
  2. การปิดตาข้างที่ดี เป็นการกระตุ้นให้ตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจได้ใช้งาน และส่งผลให้การมองเห็นดีขึ้น
  3. การหยอดตา โดยหยอดตาเฉพาะข้างที่ดี เพื่อทำให้ตาข้างที่ดีมัวลง เป็นการกระตุ้นตาข้างที่ขี้เกียจให้กลับมาทำงานให้ดีขึ้น
  4. การผ่าตัด กรณีที่สามารถทำการผ่าตัดเผื่อรักษาได้ เช่น การผ่าตัดต้อกระจก เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา หนังตาตก เพื่อทำให้ตาข้างนั้นมองชัดขึ้น จากนั้นจึงค่อยทำการปิดตาข้างที่ดีกว่าเพื่อกระตุ้นให้ตาข้างที่ด้อยกว่าได้ใช้งานมากขึ้น

ตาขี้เกียจในเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กกลับมาหายได้เป็นปกติ รวมทั้งควรสังเกตพฤติกรรมการมองเห็นของลูก หากมีอาการผิดปกติควรรีบพามาตรวจกับจักษุแพทย์เพื่อได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและถูกต้อง

ตรวจสอบโดย : ผศ. พญ. เพียงพร ศักดิ์ศิริวุฒโฒ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง