
โรคอ้วน ภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพ
โรคอ้วน (Obesity) เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากมีเนื้อเยื่อไขมันมากผิดปกติในร่างกาย จนทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ ตามมา
เมื่อไรจึงจะเรียกว่าอ้วน?
การวินิจฉัยโรคอ้วนที่ดีที่สุด คือการวัดปริมาณไขมันในร่างกายด้วยเครื่องมือพิเศษ เช่น เครื่อง วิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกาย (Bioelectrical Impedance Analysis หรือ BIA) และ เครื่องวัดมวลไขมันและมวลกล้ามเนื้อ (Dual-Energy X-ray Absorptiometry หรือ DEXA scan) เป็นต้น แต่โดยทั่วไปนิยมใช้การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index หรือ BMI) ซึ่งทำได้ง่ายและสะดวกมากกว่า โดยคำนวณจากน้ำหนักตัวและส่วนสูง ดังนี้
ตัวอย่างเช่น ถ้าน้ำหนักตัว 90 กิโลกรัม และสูง 170 เซนติเมตร หรือ 1.70 เมตร ค่า BMI จะเท่ากับ 31.14
เมื่อได้ค่า BMI สามารถนำมาแปลผลค่าดัชนีมวลกายดังตารางนี้
โรคอ้วนลงพุง คืออะไร?
โรคอ้วนลงพุง (visceral obesity หรือ intraabdominal obesity) คือภาวะที่มีไขมันในช่องท้องมากกว่าปกติ โดยอาจมีโรคอ้วนทั้งตัว (overall obesity) ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ โรคอ้วนลงพุงวินิจฉัยจากการวัดเส้นรอบเอว กรณีเส้นรอบเอว > 90 เซนติเมตรในผู้ชาย และ > 80 เซนติเมตรในผู้หญิง หรืออัตราส่วนเส้นรอบเอว (เซนติเมตร) ต่อ ส่วนสูง (เซนติเมตร) หรือ waist-to-height ratio > 0.5 ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย
ผลเสียของโรคอ้วนต่อสุขภาพ
ผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ มากขึ้นดังนี้
1. โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral artery disease) โรคไขมันพอกตับ (metabolic dysfunction associated steatotic liver disease หรือ MASLD) โรคกรดไหลย้อน โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคหอบหืด โรคเก๊าท์ โรคไตเรื้อรัง ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovarian syndrome หรือ PCOS) เป็นต้น
2. โรคที่เกิดจากน้ำหนักตัวและไขมันในร่างกายมากเกิน เช่น โรคข้อเสื่อม โรคอุดกั้นทางเดินหายใจ (obstructive sleep apnea หรือ OSA) เส้นเลือดขอด (varicose vein) ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (urinary incontinence) ในผู้หญิง
3. โรคทางจิตใจ เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า
4. ผิวหนังผิดปกติ เช่น ติดเชื้อรา รอยปื้นสีดำที่คอ (acanthosis nigricans)
5. โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก มะเร็งถุงน้ำดี
เป้าหมายในการลดน้ำหนัก
โดยทั่วไปการลดน้ำหนักตัวจะสามารถลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของโรคอ้วนได้ โดยขึ้นกับระดับน้ำหนักตัวที่ลดลง การลดน้ำหนักอย่างน้อยร้อยละ 3-5 สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตลดลงได้ ถ้าลดน้ำหนักได้ร้อยละ 5-10 สามารถป้องกันโรคเบาหวานในผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะก่อนเบาหวานได้ ลดโรคไขมันพอกตับได้ และถ้าลดน้ำหนักได้มากกว่าร้อยละ 10 ได้ อาจทำให้ผู้เป็นเบาหวานเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบได้
วิธีการลดน้ำหนักตัว
1. การควบคุมอาหาร หลักการคือควบคุมพลังงานที่ได้จากการรับประทานอาหาร ให้น้อยกว่า พลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน โดยถ้าลดได้มากกว่า 500 กิโลแคลอรีต่อวัน จะสามารถลดน้ำหนักตัวได้ประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ โดยรูปแบบการรับประทานอาหารมีหลายชนิด เช่น อาหารไขมันต่ำ (low fat diet) อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ (low carbohydrate diet) อาหารควบคุมพลังงานที่มีโปรตีนสูง (high protein diet) อาหารเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean diet) อาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก (plant-based diet) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิธีการควบคุมอาหารแบบต่างๆ เช่น การอดอาหารเป็นช่วงๆ (intermittent fasting) เป็นต้น โดยอาจเลือกรูปแบบอาหารที่เหมาะกับวิถีชีวิตและโรคประจำตัวของผู้ป่วยแต่ละราย
2. การออกกำลังกาย แนะนำการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (aerobic exercise) เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เป็นต้น อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ และออกกำลังกายชนิดแรงต้าน (resistant exercise) อย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวโดยไม่ควบคุมอาหาร มักไม่สามารถลดน้ำหนักตัวได้ การเลือกวิธีการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกาย
3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น การตรวจสอบพฤติกรรมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายของตนเองเป็นประจำ การจัดการความเครียดซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้รับประทานอาหารมากเกินไป และการควบคุมปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้รับประทานอาหารเพิ่มขึ้น เป็นต้น
4. ยาลดน้ำหนัก ปัจจุบันมียาลดน้ำหนักทั้งรูปแบบยารับประทานและยาฉีด ยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยา สามารถลดน้ำหนักได้ร้อยละ 5-20 ขึ้นกับชนิดยาและผู้ป่วยแต่ละราย โดยการใช้ยาลดน้ำหนักควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ และควรต้องใช้ยาร่วมกับการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสมอ
5. การผ่าตัดลดน้ำหนัก ปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น การผ่าตัดส่องกล้อง (endoscopic surgery) และการผ่าตัดทางหน้าท้อง (bariatric surgery) เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้รับการผ่าตัดก็ยังจำเป็นต้องควบคุมอาหารควบคู่กันไปด้วย
ที่มา แนวทางในการวินิจฉัยและรักษาโรคอ้วน พ.ศ. 2562
ตรวจบทความโดย: รศ. พญ.ระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์ และ นพ.ณัฐพงศ์ เลาห์ทวีรุ่งเรื่อง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D
บทความที่เกี่ยวข้อง
โรคอ้วน (Obesity) เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากมีเนื้อเยื่อไขมันมากผิดปกติในร่างกาย จนทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ ตามมา
เมื่อไรจึงจะเรียกว่าอ้วน?
การวินิจฉัยโรคอ้วนที่ดีที่สุด คือการวัดปริมาณไขมันในร่างกายด้วยเครื่องมือพิเศษ เช่น เครื่อง วิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกาย (Bioelectrical Impedance Analysis หรือ BIA) และ เครื่องวัดมวลไขมันและมวลกล้ามเนื้อ (Dual-Energy X-ray Absorptiometry หรือ DEXA scan) เป็นต้น แต่โดยทั่วไปนิยมใช้การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index หรือ BMI) ซึ่งทำได้ง่ายและสะดวกมากกว่า โดยคำนวณจากน้ำหนักตัวและส่วนสูง ดังนี้
ตัวอย่างเช่น ถ้าน้ำหนักตัว 90 กิโลกรัม และสูง 170 เซนติเมตร หรือ 1.70 เมตร ค่า BMI จะเท่ากับ 31.14
เมื่อได้ค่า BMI สามารถนำมาแปลผลค่าดัชนีมวลกายดังตารางนี้
โรคอ้วนลงพุง คืออะไร?
โรคอ้วนลงพุง (visceral obesity หรือ intraabdominal obesity) คือภาวะที่มีไขมันในช่องท้องมากกว่าปกติ โดยอาจมีโรคอ้วนทั้งตัว (overall obesity) ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ โรคอ้วนลงพุงวินิจฉัยจากการวัดเส้นรอบเอว กรณีเส้นรอบเอว > 90 เซนติเมตรในผู้ชาย และ > 80 เซนติเมตรในผู้หญิง หรืออัตราส่วนเส้นรอบเอว (เซนติเมตร) ต่อ ส่วนสูง (เซนติเมตร) หรือ waist-to-height ratio > 0.5 ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย
ผลเสียของโรคอ้วนต่อสุขภาพ
ผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ มากขึ้นดังนี้
1. โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral artery disease) โรคไขมันพอกตับ (metabolic dysfunction associated steatotic liver disease หรือ MASLD) โรคกรดไหลย้อน โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคหอบหืด โรคเก๊าท์ โรคไตเรื้อรัง ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovarian syndrome หรือ PCOS) เป็นต้น
2. โรคที่เกิดจากน้ำหนักตัวและไขมันในร่างกายมากเกิน เช่น โรคข้อเสื่อม โรคอุดกั้นทางเดินหายใจ (obstructive sleep apnea หรือ OSA) เส้นเลือดขอด (varicose vein) ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (urinary incontinence) ในผู้หญิง
3. โรคทางจิตใจ เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า
4. ผิวหนังผิดปกติ เช่น ติดเชื้อรา รอยปื้นสีดำที่คอ (acanthosis nigricans)
5. โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก มะเร็งถุงน้ำดี
เป้าหมายในการลดน้ำหนัก
โดยทั่วไปการลดน้ำหนักตัวจะสามารถลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของโรคอ้วนได้ โดยขึ้นกับระดับน้ำหนักตัวที่ลดลง การลดน้ำหนักอย่างน้อยร้อยละ 3-5 สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตลดลงได้ ถ้าลดน้ำหนักได้ร้อยละ 5-10 สามารถป้องกันโรคเบาหวานในผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะก่อนเบาหวานได้ ลดโรคไขมันพอกตับได้ และถ้าลดน้ำหนักได้มากกว่าร้อยละ 10 ได้ อาจทำให้ผู้เป็นเบาหวานเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบได้
วิธีการลดน้ำหนักตัว
1. การควบคุมอาหาร หลักการคือควบคุมพลังงานที่ได้จากการรับประทานอาหาร ให้น้อยกว่า พลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน โดยถ้าลดได้มากกว่า 500 กิโลแคลอรีต่อวัน จะสามารถลดน้ำหนักตัวได้ประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ โดยรูปแบบการรับประทานอาหารมีหลายชนิด เช่น อาหารไขมันต่ำ (low fat diet) อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ (low carbohydrate diet) อาหารควบคุมพลังงานที่มีโปรตีนสูง (high protein diet) อาหารเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean diet) อาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก (plant-based diet) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิธีการควบคุมอาหารแบบต่างๆ เช่น การอดอาหารเป็นช่วงๆ (intermittent fasting) เป็นต้น โดยอาจเลือกรูปแบบอาหารที่เหมาะกับวิถีชีวิตและโรคประจำตัวของผู้ป่วยแต่ละราย
2. การออกกำลังกาย แนะนำการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (aerobic exercise) เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เป็นต้น อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ และออกกำลังกายชนิดแรงต้าน (resistant exercise) อย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวโดยไม่ควบคุมอาหาร มักไม่สามารถลดน้ำหนักตัวได้ การเลือกวิธีการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกาย
3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น การตรวจสอบพฤติกรรมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายของตนเองเป็นประจำ การจัดการความเครียดซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้รับประทานอาหารมากเกินไป และการควบคุมปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้รับประทานอาหารเพิ่มขึ้น เป็นต้น
4. ยาลดน้ำหนัก ปัจจุบันมียาลดน้ำหนักทั้งรูปแบบยารับประทานและยาฉีด ยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยา สามารถลดน้ำหนักได้ร้อยละ 5-20 ขึ้นกับชนิดยาและผู้ป่วยแต่ละราย โดยการใช้ยาลดน้ำหนักควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ และควรต้องใช้ยาร่วมกับการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสมอ
5. การผ่าตัดลดน้ำหนัก ปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น การผ่าตัดส่องกล้อง (endoscopic surgery) และการผ่าตัดทางหน้าท้อง (bariatric surgery) เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้รับการผ่าตัดก็ยังจำเป็นต้องควบคุมอาหารควบคู่กันไปด้วย
ที่มา แนวทางในการวินิจฉัยและรักษาโรคอ้วน พ.ศ. 2562
ตรวจบทความโดย: รศ. พญ.ระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์ และ นพ.ณัฐพงศ์ เลาห์ทวีรุ่งเรื่อง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D
บทความที่เกี่ยวข้อง