มะเร็ง รู้เร็ว รักษาได้

มะเร็งคืออะไร?

มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากการที่เซลล์ในร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติและไม่สามารถควบคุมได้ เซลล์เหล่านี้จะมีการรวมตัวกันเป็นก้อนเนื้อ (เรียกว่า “ก้อนมะเร็ง”) โดยมีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง หรือกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผ่านทางระบบเลือดหรือน้ำเหลือง

ชนิดของมะเร็ง มีมากกว่า 100 ชนิด ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของร่างกายที่เกิดโรค และชนิดของเซลล์ที่เปลี่ยนแปลง โดยประเภทของมะเร็ง สามารถแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่

1. คาร์ซิโนมา (Carcinoma) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด โดยเซลล์มะเร็งมีจุดกำเนิดมาจากชั้นผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อบุอวัยวะภายใน เช่น มะเร็งเต้านม ปอด ลำไส้ และตับ

2. ลูคีเมีย (Leukemia) มะเร็งเม็ดเลือดขาว เกิดจากความผิดปกติเซลล์ตัวอ่อนเม็ดเลือดขาวในไขกระดูก สร้างเม็ดเลือดขาวผิดปกติ

3. ลิมโฟมา และไมอีโลมา (Lymphoma & Myeloma) มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ต่อมน้ำเหลือง หรือพลาสมาเซลล์ในไขกระดูก

4. ซาร์โคมา (Sarcoma) เป็นกลุ่มมะเร็งที่พบน้อย เซลล์มะเร็งมีจุดกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ ไขมัน หรือหลอดเลือด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็ง

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดในการเกิดมะเร็งในร่างกาย อย่างไรก็ตามข้อมูลในปัจจุบันพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โอกาสในการเกิดมะเร็งเพิ่มมากขึ้น ดังนี้

1. อายุ อายุที่เพิ่มขึ้นมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากขึ้น

2. บุหรี่ มีสารก่อมะเร็ง ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

3. แสงแดด หรือแสงอัลตร้าไวโอเลต (UV) สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งผิวหนัง

4. รังสีในธรรมชาติ หรือเอกซเรย์ รังสีนิวเคลียร์ ก๊าซเรดอน หากได้รับปริมาณสูงเกินกำหนด สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งลูคีเมีย มะเร็งไทรอยด์ มะเร็งเต้านม 

5. สารเคมี เช่น asbestos, benzene, benzidine, cadmium, nickel หรือ vinyl chloride

6. เชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น เอชพีวี ไวรัส, ไวรัสตับอักเสบบี ซี, ไวรัสเอชไอวี เป็นต้น

7. การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม

8. ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง มะเร็งบางชนิดสัมพันธ์กับความผิดปกติของสารพันธุกรรม ที่เรียกว่า “ยีน” อย่างไรก็ดีมะเร็งที่ถ่ายทอดในครอบครัวพบได้เป็นสัดส่วนน้อย

9. แอลกอฮอล์ สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งตับ มะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งกล่องเสียง 

10. วิถีการดำเนินชีวิตบางอย่าง เช่น การกินอาหารไขมันสูง สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งลำไส้ มะเร็งโพรงมดลูก และมะเร็งต่อมลูกหมาก ความอ้วนหรือออกกำลังกายน้อย สัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งไต และ มะเร็งโพรงมดลูก

ข้อควรจำ: คนที่มีปัจจัยเสี่ยงไม่จำเป็นต้องเป็นมะเร็งเสมอไป และคนที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงก็ยังสามารถเป็นมะเร็งได้เช่นกัน

อาการเตือนโรคมะเร็ง ที่ไม่ควรมองข้าม

หากมีอาการต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย

  • มีก้อนหรือตุ่มผิดปกติในร่างกาย
  • ไฝโตขึ้น เปลี่ยนสี คัน หรือมีเลือดออก
  • ปวดเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุ
  • ไอเรื้อรัง หรือเสียงแหบ
  • การขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะปนเลือด ถ่ายอุจจาระลำเล็กลง อุจจาระลำบาก อุจจาระมีเลือดปน ปวดหน่วงทวารหนักเวลาขับถ่าย
  • กลืนติด หรือกลืนลำบาก กินแล้วอิ่มเร็ว
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีสารคัดหลั่งออกผิดปกติหรือเลือดออก เช่น ตกขาวผิดปกติ ตกขาวปนเลือด เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติภายหลังการมีเพศสัมพันธ์

โดยทั่วไปมะเร็งในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการเจ็บปวดอย่างเด่นชัด และหากมีอาการดังกล่าวข้างต้น อาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากมะเร็งเสมอไป ดังนั้นถ้ามีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด การวินิจฉัยมะเร็งได้เร็ว ทำให้เพิ่มโอกาสรักษาให้หายขาดได้มากขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : นพ.ธนพัฒน์ อิงคกุล

บทความที่เกี่ยวข้อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E

มะเร็งคืออะไร?

มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากการที่เซลล์ในร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติและไม่สามารถควบคุมได้ เซลล์เหล่านี้จะมีการรวมตัวกันเป็นก้อนเนื้อ (เรียกว่า “ก้อนมะเร็ง”) โดยมีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง หรือกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผ่านทางระบบเลือดหรือน้ำเหลือง

ชนิดของมะเร็ง มีมากกว่า 100 ชนิด ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของร่างกายที่เกิดโรค และชนิดของเซลล์ที่เปลี่ยนแปลง โดยประเภทของมะเร็ง สามารถแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่

1. คาร์ซิโนมา (Carcinoma) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด โดยเซลล์มะเร็งมีจุดกำเนิดมาจากชั้นผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อบุอวัยวะภายใน เช่น มะเร็งเต้านม ปอด ลำไส้ และตับ

2. ลูคีเมีย (Leukemia) มะเร็งเม็ดเลือดขาว เกิดจากความผิดปกติเซลล์ตัวอ่อนเม็ดเลือดขาวในไขกระดูก สร้างเม็ดเลือดขาวผิดปกติ

3. ลิมโฟมา และไมอีโลมา (Lymphoma & Myeloma) มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ต่อมน้ำเหลือง หรือพลาสมาเซลล์ในไขกระดูก

4. ซาร์โคมา (Sarcoma) เป็นกลุ่มมะเร็งที่พบน้อย เซลล์มะเร็งมีจุดกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ ไขมัน หรือหลอดเลือด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็ง

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดในการเกิดมะเร็งในร่างกาย อย่างไรก็ตามข้อมูลในปัจจุบันพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โอกาสในการเกิดมะเร็งเพิ่มมากขึ้น ดังนี้

1. อายุ อายุที่เพิ่มขึ้นมีโอกาสเกิดมะเร็งได้มากขึ้น

2. บุหรี่ มีสารก่อมะเร็ง ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

3. แสงแดด หรือแสงอัลตร้าไวโอเลต (UV) สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งผิวหนัง

4. รังสีในธรรมชาติ หรือเอกซเรย์ รังสีนิวเคลียร์ ก๊าซเรดอน หากได้รับปริมาณสูงเกินกำหนด สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งลูคีเมีย มะเร็งไทรอยด์ มะเร็งเต้านม 

5. สารเคมี เช่น asbestos, benzene, benzidine, cadmium, nickel หรือ vinyl chloride

6. เชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น เอชพีวี ไวรัส, ไวรัสตับอักเสบบี ซี, ไวรัสเอชไอวี เป็นต้น

7. การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม

8. ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง มะเร็งบางชนิดสัมพันธ์กับความผิดปกติของสารพันธุกรรม ที่เรียกว่า “ยีน” อย่างไรก็ดีมะเร็งที่ถ่ายทอดในครอบครัวพบได้เป็นสัดส่วนน้อย

9. แอลกอฮอล์ สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งตับ มะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งกล่องเสียง 

10. วิถีการดำเนินชีวิตบางอย่าง เช่น การกินอาหารไขมันสูง สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งลำไส้ มะเร็งโพรงมดลูก และมะเร็งต่อมลูกหมาก ความอ้วนหรือออกกำลังกายน้อย สัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งไต และ มะเร็งโพรงมดลูก

ข้อควรจำ: คนที่มีปัจจัยเสี่ยงไม่จำเป็นต้องเป็นมะเร็งเสมอไป และคนที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงก็ยังสามารถเป็นมะเร็งได้เช่นกัน

อาการเตือนโรคมะเร็ง ที่ไม่ควรมองข้าม

หากมีอาการต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย

  • มีก้อนหรือตุ่มผิดปกติในร่างกาย
  • ไฝโตขึ้น เปลี่ยนสี คัน หรือมีเลือดออก
  • ปวดเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุ
  • ไอเรื้อรัง หรือเสียงแหบ
  • การขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะปนเลือด ถ่ายอุจจาระลำเล็กลง อุจจาระลำบาก อุจจาระมีเลือดปน ปวดหน่วงทวารหนักเวลาขับถ่าย
  • กลืนติด หรือกลืนลำบาก กินแล้วอิ่มเร็ว
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีสารคัดหลั่งออกผิดปกติหรือเลือดออก เช่น ตกขาวผิดปกติ ตกขาวปนเลือด เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติภายหลังการมีเพศสัมพันธ์

โดยทั่วไปมะเร็งในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการเจ็บปวดอย่างเด่นชัด และหากมีอาการดังกล่าวข้างต้น อาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากมะเร็งเสมอไป ดังนั้นถ้ามีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด การวินิจฉัยมะเร็งได้เร็ว ทำให้เพิ่มโอกาสรักษาให้หายขาดได้มากขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : นพ.ธนพัฒน์ อิงคกุล

บทความที่เกี่ยวข้อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง