ส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน ป้องกันโรคร้าย ตรวจง่าย รู้ผลไว

การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Esophagogastroduodenoscopy (EGD) เป็นการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาความผิดปกติของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ โดยใช้กล้องส่องชนิดพิเศษที่เรียกว่า เอนโดสโคป เป็นกล้องวิดีโอขนาดเล็กส่องเข้าทางปากผ่านลงสู่หลอดอาหาร กระเพาะอาหารจนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น

การตรวจนี้ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจหาสาเหตุของอาการต่าง ๆ เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน กลืนลำบาก รวมถึงตรวจหาภาวะผิดปกติ เช่น แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก มะเร็งในทางเดินอาหารส่วนบน เป็นต้น

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน?

1. ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในทางเดินอาหารส่วนบน เช่น

  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร
  • ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี

2. ผู้ป่วยที่มีอาการเตือน ได้แก่ น้ำหนักตัวลดเยอะ อาเจียนรุนแรงต่อเนื่อง มีอาการกลืนเจ็บกลืนลำบาก มีอาการเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน

3. ผู้ที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารส่วนบน เช่น กลืนลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นหน้าอก อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

4. ผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องที่อาการไม่ดีขึ้นหลังจากรักษาด้วยยาต้านกรด

ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น

1. งดอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมดก่อนตรวจประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง

2. ผู้ป่วยโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูงที่ได้รับยาต้านเกร็ดเลือด เช่น แอสไพรินหรือยาละลายลิ่มเลือดชนิดอื่น ควรงดยาก่อนเข้ารับการตรวจประมาณ 7 วัน หรือตามที่แพทย์พิจารณา เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกง่ายขณะทำการส่องกล้องหรือทำหัตถการระหว่างส่องกล้อง

3. แจ้งประวัติการแพ้ยาหรืออาหารบางชนิดกับแพทย์ (ถ้ามี)

4. เตรียมเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประจำตัว สมุดบันทึกประวัติการรักษา และรายงานผลการตรวจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

5. หากมีฟันปลอมชนิดถอดได้ กรุณาถอดก่อนเข้ารับการตรวจ

6. ควรมีญาติมาด้วยในวันตรวจ

ขั้นตอนการตรวจรักษา

1. ผู้ป่วยจะได้รับยานอนหลับทางหลอดเลือดดำ โดยผู้ป่วยจะรู้สึกผ่อนคลายและค่อย ๆ หลับไป โดยจะมีวิสัญญีแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยบางรายก่อนการส่องกล้องอาจจะได้รับยาชาเฉพาะที่บริเวณลำคอโดยการอมและพ่น เพื่อลดอาการระคายเคืองขณะส่องกล้อง ผู้ป่วยจะรู้สึกคอหนา ๆ กลืนน้ำลายลำบาก โดยแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไปแล้วแต่ความเหมาะสม ผู้ป่วยบางรายถ้ามีความเสี่ยงสูงในการให้ยานอนหลับ วิสัญญีแพทย์อาจให้ยาชาเฉพาะที่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ให้ยานอนหลับ

2. ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายและใช้ผ้าคลุมปิดตา เพื่อป้องกันแสงไฟและน้ำกระเด็นเข้าตา

3. แพทย์จะให้ผู้ป่วยคาบท่อพลาสติกสั้น ๆ ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกัดกล้อง

4. ผู้ป่วยสามารถหายใจได้ตามปกติ โดยกล้องจะไม่รบกวนการหายใจขณะทำการตรวจรักษา

5. แพทย์จะสอดกล้องผ่านทางปากเข้าสู่ช่องคอ หลอดอาหาร หลังจากนั้นแพทย์จะค่อย ๆ สอดกล้องลงสู่กระเพาะอาหารจนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น

6. ระหว่างการส่องกล้อง แพทย์สามารถสังเกตลักษณะความผิดปกติ ตรวจหาจุดเลือดออก แผลเรื้อรัง หรือเนื้องอกได้ รวมทั้งสามารถเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

7. ขณะทำการตรวจอาจมีน้ำลายในช่องปากและคอบ้าง พยาบาลจะช่วยดูดน้ำลายเป็นระยะ

8. ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยานอนหลับทางหลอดเลือดดำ ขณะทำการตรวจอาจรู้สึกแน่นอึดอัดในลำคอ ขย้อนอยากอาเจียนบ้าง แต่สามารถบรรเทาอาการได้โดยการสูดลมหายใจเข้า-ออกลึก ๆ ไม่เกร็ง ปล่อยตัวตามสบาย โดยแพทย์และพยาบาลจะคอยให้คำแนะนำเป็นระยะ

การปฏิบัติตัวภายหลังการตรวจส่องกล้อง

1. ภายหลังการส่องกล้องผู้ตรวจนอนพักประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง เพื่อสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น

2. ห้ามดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารจนกว่าคอจะหายชา เมื่อคอหายชาแล้วให้ทดลองจิบน้ำ หากไม่มีอาการสำลักสามารถดื่มน้ำได้

3. สังเกตน้ำลายที่บ้วนออกมาอาจมีเลือดปนบ้างเล็กน้อย แต่หากมีเลือดออกมากกว่าปกติให้แจ้งแพทย์ทันที

4. ภายหลังการตรวจอาจมีอาการเจ็บคอ

  • ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรืออาหาร้อน ๆ
  • ควรรับประทานอาหารเหลวหรืออาหารอ่อน รสไม่จัด ประมาณ 2 - 3 วัน
  • สามารถออกกำลังกาย และทำงานได้ตามปกติ

5. ผู้ป่วยที่ได้รับยานอนหลับทางหลอดเลือดดำ (ไม่รู้สึกตัวขณะตรวจ) ห้ามขับรถหรือทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักร หรืองานที่ต้องใช้การตัดสินใจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หลังได้รับการตรวจ

6. หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดมากบริเวณลำคอ หน้าอก หายใจลำบาก มีไข้สูง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

7. ควรพบแพทย์ตามวันและเวลาที่นัดหมาย

การส่องกล้องช่วยในการวินิจฉัยโรคได้แม่นยำ และสามารถให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว จึงแนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีอาการผิดปกติ เข้ารับการตรวจเพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง

ตรวจบทความโดย: นพ.พิสิษฐ์ อภิโสภณศิริ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Esophagogastroduodenoscopy (EGD) เป็นการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาความผิดปกติของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ โดยใช้กล้องส่องชนิดพิเศษที่เรียกว่า เอนโดสโคป เป็นกล้องวิดีโอขนาดเล็กส่องเข้าทางปากผ่านลงสู่หลอดอาหาร กระเพาะอาหารจนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น

การตรวจนี้ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจหาสาเหตุของอาการต่าง ๆ เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน กลืนลำบาก รวมถึงตรวจหาภาวะผิดปกติ เช่น แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก มะเร็งในทางเดินอาหารส่วนบน เป็นต้น

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน?

1. ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในทางเดินอาหารส่วนบน เช่น

  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร
  • ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี

2. ผู้ป่วยที่มีอาการเตือน ได้แก่ น้ำหนักตัวลดเยอะ อาเจียนรุนแรงต่อเนื่อง มีอาการกลืนเจ็บกลืนลำบาก มีอาการเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน

3. ผู้ที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารส่วนบน เช่น กลืนลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นหน้าอก อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

4. ผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องที่อาการไม่ดีขึ้นหลังจากรักษาด้วยยาต้านกรด

ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น

1. งดอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมดก่อนตรวจประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง

2. ผู้ป่วยโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูงที่ได้รับยาต้านเกร็ดเลือด เช่น แอสไพรินหรือยาละลายลิ่มเลือดชนิดอื่น ควรงดยาก่อนเข้ารับการตรวจประมาณ 7 วัน หรือตามที่แพทย์พิจารณา เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกง่ายขณะทำการส่องกล้องหรือทำหัตถการระหว่างส่องกล้อง

3. แจ้งประวัติการแพ้ยาหรืออาหารบางชนิดกับแพทย์ (ถ้ามี)

4. เตรียมเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประจำตัว สมุดบันทึกประวัติการรักษา และรายงานผลการตรวจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

5. หากมีฟันปลอมชนิดถอดได้ กรุณาถอดก่อนเข้ารับการตรวจ

6. ควรมีญาติมาด้วยในวันตรวจ

ขั้นตอนการตรวจรักษา

1. ผู้ป่วยจะได้รับยานอนหลับทางหลอดเลือดดำ โดยผู้ป่วยจะรู้สึกผ่อนคลายและค่อย ๆ หลับไป โดยจะมีวิสัญญีแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยบางรายก่อนการส่องกล้องอาจจะได้รับยาชาเฉพาะที่บริเวณลำคอโดยการอมและพ่น เพื่อลดอาการระคายเคืองขณะส่องกล้อง ผู้ป่วยจะรู้สึกคอหนา ๆ กลืนน้ำลายลำบาก โดยแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไปแล้วแต่ความเหมาะสม ผู้ป่วยบางรายถ้ามีความเสี่ยงสูงในการให้ยานอนหลับ วิสัญญีแพทย์อาจให้ยาชาเฉพาะที่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ให้ยานอนหลับ

2. ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายและใช้ผ้าคลุมปิดตา เพื่อป้องกันแสงไฟและน้ำกระเด็นเข้าตา

3. แพทย์จะให้ผู้ป่วยคาบท่อพลาสติกสั้น ๆ ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกัดกล้อง

4. ผู้ป่วยสามารถหายใจได้ตามปกติ โดยกล้องจะไม่รบกวนการหายใจขณะทำการตรวจรักษา

5. แพทย์จะสอดกล้องผ่านทางปากเข้าสู่ช่องคอ หลอดอาหาร หลังจากนั้นแพทย์จะค่อย ๆ สอดกล้องลงสู่กระเพาะอาหารจนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น

6. ระหว่างการส่องกล้อง แพทย์สามารถสังเกตลักษณะความผิดปกติ ตรวจหาจุดเลือดออก แผลเรื้อรัง หรือเนื้องอกได้ รวมทั้งสามารถเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

7. ขณะทำการตรวจอาจมีน้ำลายในช่องปากและคอบ้าง พยาบาลจะช่วยดูดน้ำลายเป็นระยะ

8. ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยานอนหลับทางหลอดเลือดดำ ขณะทำการตรวจอาจรู้สึกแน่นอึดอัดในลำคอ ขย้อนอยากอาเจียนบ้าง แต่สามารถบรรเทาอาการได้โดยการสูดลมหายใจเข้า-ออกลึก ๆ ไม่เกร็ง ปล่อยตัวตามสบาย โดยแพทย์และพยาบาลจะคอยให้คำแนะนำเป็นระยะ

การปฏิบัติตัวภายหลังการตรวจส่องกล้อง

1. ภายหลังการส่องกล้องผู้ตรวจนอนพักประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง เพื่อสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น

2. ห้ามดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารจนกว่าคอจะหายชา เมื่อคอหายชาแล้วให้ทดลองจิบน้ำ หากไม่มีอาการสำลักสามารถดื่มน้ำได้

3. สังเกตน้ำลายที่บ้วนออกมาอาจมีเลือดปนบ้างเล็กน้อย แต่หากมีเลือดออกมากกว่าปกติให้แจ้งแพทย์ทันที

4. ภายหลังการตรวจอาจมีอาการเจ็บคอ

  • ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรืออาหาร้อน ๆ
  • ควรรับประทานอาหารเหลวหรืออาหารอ่อน รสไม่จัด ประมาณ 2 - 3 วัน
  • สามารถออกกำลังกาย และทำงานได้ตามปกติ

5. ผู้ป่วยที่ได้รับยานอนหลับทางหลอดเลือดดำ (ไม่รู้สึกตัวขณะตรวจ) ห้ามขับรถหรือทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักร หรืองานที่ต้องใช้การตัดสินใจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หลังได้รับการตรวจ

6. หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดมากบริเวณลำคอ หน้าอก หายใจลำบาก มีไข้สูง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

7. ควรพบแพทย์ตามวันและเวลาที่นัดหมาย

การส่องกล้องช่วยในการวินิจฉัยโรคได้แม่นยำ และสามารถให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว จึงแนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีอาการผิดปกติ เข้ารับการตรวจเพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง

ตรวจบทความโดย: นพ.พิสิษฐ์ อภิโสภณศิริ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A

บทความที่เกี่ยวข้อง

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง