โรคง่วงนอนมากผิดปกติระหว่างวัน

การนอนหลับ เป็นการพักผ่อนร่างกายและจิตใจ การนอนหลับในระยะเวลาที่เหมาะสมช่วยฟื้นฟูร่างกายจากความเหนื่อยล้า เสริมสร้างความแข็งแรงของการทำงานในทุกระบบของร่างกาย รวมไปถึงสมาธิ ความจำ และอารมณ์ ในทางกลับกัน การนอนหลับในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจเป็นสัญญาณของโรคที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับผิดปกติบางชนิด

ทำความรู้จักโรคง่วงนอนมากผิดปกติ

โรคง่วงนอนมากผิดปกติ (Hypersomnia) เป็นกลุ่มโรคที่ผู้ป่วยมีปัญหาง่วงนอนมากผิดปกติในช่วงเวลาที่ควรตื่นตัวได้ดี ได้แก่ช่วงเวลากลางวัน ผู้ป่วยมักมีอาการง่วง เผลอหลับหรืองีบหลับระหว่างวัน ฝืนให้ตื่นไม่ได้ แม้ว่าช่วงกลางคืนจะนอนหลับได้อย่างเพียงพอแล้วก็ตาม บางครั้งรุนแรงถึงระดับที่เผลอหลับในขณะรับประทานอาหาร ทำงาน พูดคุยกับผู้อื่น หรือขับรถซึ่งนอกจากจะกระทบกับการใช้ชีวิต ประสิทธิภาพการทำงานแล้ว ยังอาจนำไปสู่อุบัติเหตุที่รุนแรงตามมา

สาเหตุของอาการง่วงนอนมากผิดปกติ

อาการง่วงนอนมากผิดปกติระหว่างวัน อาจมีสาเหตุได้จากทั้งโรคทางกาย โรคทางจิตใจ โรคความผิดปกติของคุณภาพการนอนหลับ รวมไปถึงพฤติกรรมการนอนพักผ่อนในช่วงกลางคืนที่ไม่เหมาะสม เช่น

  • โรคที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับที่ผิดปกติ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น โรคขากระตุกผิดปกติขณะหลับ
  • กลุ่มโรคนาฬิกาชีวิตแปรปรวน (circadian sleep wake rhythm disorder) ทำให้เวลาเข้านอนและตื่นนอนผิดปกติ ทั้งนี้ยังรวมไปถึง การเดินทางไปต่างประเทศที่มีการเปลี่ยนเวลาที่ต่างกันมาก ๆ และการทำงานเป็นกะ
  • ภาวะอดนอนสะสม ซึ่งรวมถึงการมีสุขนิสัยการนอนหลับที่ไม่เหมาะสม
  • โรคนอนไม่หลับ ซึ่งส่งผลให้มีจำนวนชั่วโมงการนอนไม่เพียงพอ
  • ในกลุ่มระบบประสาทส่วนกลางที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการควบคุมการตื่นตัวของสมอง เช่น โรคลมหลับ (narcolepsy) อุบัติเหตุการกระทบกระเทือนของสมอง (head injury)
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ ยาแก้แพ้ ยาแก้ปวดบางชนิด

ผลเสียของโรคง่วงนอนมากผิดปกติ

อาการง่วงนอนมากผิดปกติสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจในหลายด้าน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ประสิทธิภาพการเรียน การทำงาน และความสัมพันธ์กับผู้อื่น       

  • ผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองที่เฉื่อยชา ตื่นตัวลดลง สมาธิและความจำบกพร่อง
  • รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน
  • เมื่อเหนื่อยล้าและมีกิจกรรมทางกายในระหว่างวันที่ลดลง สามารถส่งผลต่อการเผาผลาญของร่างกายและอาจนำไปสู่โรคอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
  • เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากความง่วงนอนระหว่างวัน เช่น อุบัติเหตุจากยานพาหนะ หรืออุบัติเหตุจากการใช้เครื่องจักรขณะที่สมองไม่ตื่นตัวเต็มที่
  • กระทบต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและคนรอบข้าง
  • อัตราการตายสูงขึ้นในรายที่นอนมากกว่า 9 ชั่วโมงต่อวัน เมื่อเทียบกับผู้ที่นอน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน

การตรวจวินิจฉัยโรคง่วงนอนมากผิดปกติ

หากแพทย์ประเมินแล้วว่าอาการง่วงนอนมากผิดปกติระหว่างวันอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการควบคุมการตื่นตัวของระบบประสาทส่วนกลาง แพทย์อาจพิจารณาส่งตรวจเพื่มเติม ได้แก่

  • ตรวจประเมินวงจรการหลับ-ตื่น ด้วย actigraphy
  • ตรวจประเมินคุณภาพการนอนหลับด้วย polysomnography หรือ sleep test
  • ตรวจประเมินความรุนแรงของอาการง่วงนอนมากผิดปกติในช่วงกลางวันด้วย multiple sleep latency test (MSLT)
  • ตรวจเลือด น้ำไขสันหลัง หรือเอ็กเรย์สมอง ในบางรายที่แพทย์พิจารณาแล้วว่ามีความจำเป็น

วิธีป้องกันปัญหาง่วงนอนมากผิดปกติในระหว่างวัน

  • เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลาสม่ำเสมอทุกวันทั้งวันทำงานและวันหยุด โดยในวัยผู้ใหญ่แนะนำให้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอที่ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน หากตื่นแล้วให้ลุกจากเตียง ไม่ต่อเวลาในการนอนออกไปอีก
  • หลีกเลี่ยงการนอนตอนกลางวัน หรือหากงีบกลางวันไม่ควรเกิน 20-30 นาที และไม่ช้ากว่า 14.00 น เนื่องจากจะส่งผลให้นอนหลับยากในช่วงกลางคืนและวงจรการนอนหลับผิดปกติตามมา
  • หากมีปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับได้ไม่ต่อเนื่อง มีอาการนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป
  • หากจำเป็นต้องรับประทานยาที่มีผลกับการตื่นตัวหรือการนอนหลับ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการบริหารยาในช่วงเวลาที่เหมาะสม
  • ออกกำลังกายและรับแสงสว่างระหว่างวันอย่างเพียงพอเพื่อกระตุ้นการตื่นตัวที่ดี และหลีกเลี่ยงการรับแสงที่มากไปในช่วงกลางคืน เช่น การใช้จอจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ เนื่องจากจะรบกวนการสร้างฮอร์โมนเมลาโทนินซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีตามมา

ขอบคุณข้อมูลจาก อ. พญ.ชวนนท์ พิมลศรี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

 

การนอนหลับ เป็นการพักผ่อนร่างกายและจิตใจ การนอนหลับในระยะเวลาที่เหมาะสมช่วยฟื้นฟูร่างกายจากความเหนื่อยล้า เสริมสร้างความแข็งแรงของการทำงานในทุกระบบของร่างกาย รวมไปถึงสมาธิ ความจำ และอารมณ์ ในทางกลับกัน การนอนหลับในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจเป็นสัญญาณของโรคที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับผิดปกติบางชนิด

ทำความรู้จักโรคง่วงนอนมากผิดปกติ

โรคง่วงนอนมากผิดปกติ (Hypersomnia) เป็นกลุ่มโรคที่ผู้ป่วยมีปัญหาง่วงนอนมากผิดปกติในช่วงเวลาที่ควรตื่นตัวได้ดี ได้แก่ช่วงเวลากลางวัน ผู้ป่วยมักมีอาการง่วง เผลอหลับหรืองีบหลับระหว่างวัน ฝืนให้ตื่นไม่ได้ แม้ว่าช่วงกลางคืนจะนอนหลับได้อย่างเพียงพอแล้วก็ตาม บางครั้งรุนแรงถึงระดับที่เผลอหลับในขณะรับประทานอาหาร ทำงาน พูดคุยกับผู้อื่น หรือขับรถซึ่งนอกจากจะกระทบกับการใช้ชีวิต ประสิทธิภาพการทำงานแล้ว ยังอาจนำไปสู่อุบัติเหตุที่รุนแรงตามมา

สาเหตุของอาการง่วงนอนมากผิดปกติ

อาการง่วงนอนมากผิดปกติระหว่างวัน อาจมีสาเหตุได้จากทั้งโรคทางกาย โรคทางจิตใจ โรคความผิดปกติของคุณภาพการนอนหลับ รวมไปถึงพฤติกรรมการนอนพักผ่อนในช่วงกลางคืนที่ไม่เหมาะสม เช่น

  • โรคที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับที่ผิดปกติ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น โรคขากระตุกผิดปกติขณะหลับ
  • กลุ่มโรคนาฬิกาชีวิตแปรปรวน (circadian sleep wake rhythm disorder) ทำให้เวลาเข้านอนและตื่นนอนผิดปกติ ทั้งนี้ยังรวมไปถึง การเดินทางไปต่างประเทศที่มีการเปลี่ยนเวลาที่ต่างกันมาก ๆ และการทำงานเป็นกะ
  • ภาวะอดนอนสะสม ซึ่งรวมถึงการมีสุขนิสัยการนอนหลับที่ไม่เหมาะสม
  • โรคนอนไม่หลับ ซึ่งส่งผลให้มีจำนวนชั่วโมงการนอนไม่เพียงพอ
  • ในกลุ่มระบบประสาทส่วนกลางที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการควบคุมการตื่นตัวของสมอง เช่น โรคลมหลับ (narcolepsy) อุบัติเหตุการกระทบกระเทือนของสมอง (head injury)
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ ยาแก้แพ้ ยาแก้ปวดบางชนิด

ผลเสียของโรคง่วงนอนมากผิดปกติ

อาการง่วงนอนมากผิดปกติสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจในหลายด้าน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ประสิทธิภาพการเรียน การทำงาน และความสัมพันธ์กับผู้อื่น       

  • ผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองที่เฉื่อยชา ตื่นตัวลดลง สมาธิและความจำบกพร่อง
  • รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน
  • เมื่อเหนื่อยล้าและมีกิจกรรมทางกายในระหว่างวันที่ลดลง สามารถส่งผลต่อการเผาผลาญของร่างกายและอาจนำไปสู่โรคอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
  • เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากความง่วงนอนระหว่างวัน เช่น อุบัติเหตุจากยานพาหนะ หรืออุบัติเหตุจากการใช้เครื่องจักรขณะที่สมองไม่ตื่นตัวเต็มที่
  • กระทบต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและคนรอบข้าง
  • อัตราการตายสูงขึ้นในรายที่นอนมากกว่า 9 ชั่วโมงต่อวัน เมื่อเทียบกับผู้ที่นอน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน

การตรวจวินิจฉัยโรคง่วงนอนมากผิดปกติ

หากแพทย์ประเมินแล้วว่าอาการง่วงนอนมากผิดปกติระหว่างวันอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการควบคุมการตื่นตัวของระบบประสาทส่วนกลาง แพทย์อาจพิจารณาส่งตรวจเพื่มเติม ได้แก่

  • ตรวจประเมินวงจรการหลับ-ตื่น ด้วย actigraphy
  • ตรวจประเมินคุณภาพการนอนหลับด้วย polysomnography หรือ sleep test
  • ตรวจประเมินความรุนแรงของอาการง่วงนอนมากผิดปกติในช่วงกลางวันด้วย multiple sleep latency test (MSLT)
  • ตรวจเลือด น้ำไขสันหลัง หรือเอ็กเรย์สมอง ในบางรายที่แพทย์พิจารณาแล้วว่ามีความจำเป็น

วิธีป้องกันปัญหาง่วงนอนมากผิดปกติในระหว่างวัน

  • เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลาสม่ำเสมอทุกวันทั้งวันทำงานและวันหยุด โดยในวัยผู้ใหญ่แนะนำให้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอที่ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน หากตื่นแล้วให้ลุกจากเตียง ไม่ต่อเวลาในการนอนออกไปอีก
  • หลีกเลี่ยงการนอนตอนกลางวัน หรือหากงีบกลางวันไม่ควรเกิน 20-30 นาที และไม่ช้ากว่า 14.00 น เนื่องจากจะส่งผลให้นอนหลับยากในช่วงกลางคืนและวงจรการนอนหลับผิดปกติตามมา
  • หากมีปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับได้ไม่ต่อเนื่อง มีอาการนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป
  • หากจำเป็นต้องรับประทานยาที่มีผลกับการตื่นตัวหรือการนอนหลับ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการบริหารยาในช่วงเวลาที่เหมาะสม
  • ออกกำลังกายและรับแสงสว่างระหว่างวันอย่างเพียงพอเพื่อกระตุ้นการตื่นตัวที่ดี และหลีกเลี่ยงการรับแสงที่มากไปในช่วงกลางคืน เช่น การใช้จอจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ เนื่องจากจะรบกวนการสร้างฮอร์โมนเมลาโทนินซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีตามมา

ขอบคุณข้อมูลจาก อ. พญ.ชวนนท์ พิมลศรี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง